+ -

عن أبي سعيد الخُدْريِّ رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول:
«‌مَنْ ‌رَأَى ‌مِنْكُمْ ‌مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الْإِيمَانِ».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 49]
المزيــد ...

จากท่านอบูสะอีดอัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
"ใครก็ตามในหมู่พวกท่านที่พบเห็นความชั่วอันใดอันหนึ่ง เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยลิ้น(ด้วยคำพูดหรือการตักเตือน)ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยใจ(ปฏิเสธด้วยใจ)ของเขา และนั่นคือการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 49]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ใช้ให้ยับยั้งความชั่ว-คือทุกสิ่งที่อัลลอฮ์และเราะซูลของพระองค์ทรงห้าม-เท่าที่มีความสามารถ ดังนั้นเมื่อเขาเห็นความชั่ว ก็จำเป็นสำหรับเขาในการยับยั้งมันด้วยการใช้มือของเขา หากมีความสามารถ แต่ถ้าไม่มีความสามารถในการใช้มือ ก็จงยับยั้งมันด้วยการใช้คำพูด ด้วยการห้ามเขา ชี้แจงถึงผลร้ายของความชั่วนั้นให้เขาฟัง และชี้แนะทางออกที่ดีกว่าให้แก่เขา และหากไม่มีความสามารถในการที่จะพูด ก็จงยับยั้งความชั่วนั้นด้วยหัวใจ ด้วยการแสดงถึงความไม่พอใจต่อความชั่วนั้น และตั้งเจตนาอย่างแน่วแน่ว่าหากมีความสามารถในการยับยั้ง ฉันทำแน่นอน การยับยั้งด้วยหัวใจนั้น แสดงถึงลำดับการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุดในการยับยั้งความชั่ว

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย ภาษาทาจิก คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาอุซเบก ภาษายูเครน
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. หะดีษนี้คือหลักในการอธิบายถึงลำดับขั้นในการยับยั้งความชั่ว
  2. หะดีษนี้ใช้ให้มีหลักการ ค่อยเป็นค่อยไปในการห้ามปรามความชั่ว ทั้งหมดนั้นขึ้นกับความสามารถของแต่ละคน
  3. การห้ามปรามความชั่วนั้นเป็นเรื่องใหญ่ในศาสนา และไม่มีผู้ใดที่จะหลุดพ้นจากมันได้ และเป็นหน้าที่เหนือทุกคนตามความสามารถที่ทุกคนมี
  4. การใช้ในเรื่องคุณธรรมความดีและการห้ามปรามความชั่วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา และการศรัทธานั้นมีการเพิ่มขึ้นและมีการลดลง
  5. เงื่อนไขในการห้ามปรามความชั่วนั้น คือ ความรู้ โดยรู้ว่าการกระทำที่เกิดขึ้นนั้น คือความชั่วที่แท้จริง
  6. เงื่อนไขในการห้ามปรามความชั่วนั้น คือ ต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดความชั่วที่ใหญ่กว่านั้น
  7. ในการห้ามปรามความชั่วนั้น มีสิ่งที่เป็นมารยาทและมีเงื่อนไขของมันอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องทำการเรียนรู้มัน
  8. การห้ามปรามความชั่ว จำเป็นต้องมีความเข้าใจด้านการบริหารในทางศาสนา ต้องมีความรู้ และข้อมูลเชิงลึก
  9. การไม่ห้ามปรามความชั่วด้วยหัวใจนั้น แสดงถึงความอ่อนแอของการศรัทธา
ดูเพิ่มเติม