عَنِ أَبي عبدِ الرَّحمنِ عبدِ اللهِ بْنِ عُمَرَ بن الخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا قَالَ: سَمِعتُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ: " بنِيَ الإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ: شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ، وَإِقَامِ الصَّلاَةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَحَجِّ البَيتِ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ".
[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

รายงานจากอบูอับดุรเราะห์มาน อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร บิน ค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา ท่านเล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "c2">“อิสลามถูกสร้างบนหลัก 5 ประการ คือ ปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมหมัดนั้นคือเราะสูล (ศาสนทูต) ของอัลลอฮ์ ดำรงการละหมาด จ่ายซะกาต บำเพ็ญฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ และถือศีลอดในเดือนรอมฎอน”
เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร บิน อัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้รายงานว่า แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "c2">“อิสลามถูกสร้างบนหลัก 5 ประการ” นั่นก็คือ ศาสนาอิสลามนั้นเปรียบเสมือนอาคาร และหลัก 5 ประการเปรียบเสมือนเสาของอาคารที่คอยทำให้มันมั่นคง ซึ่งประการแรกคือ "c2">“การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์” นั่นก็คือ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไหว้โดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ์ ซึ่งมันคือ ถ้อยคำเตาฮีด และอิสลามของบุคคลคนหนึ่งจะใช้ไม่ได้ หากปราศจากถ้อยคำดังกล่าว และจำเป็นต้องเปล่งมันออกมาเป็นวาจาพร้อมทั้งเข้าใจความหมายและปฏิบัติตามองค์ประกอบของถ้อยคำนั้นด้วย และมุฮัมหมัดนั้นคือเราะสูล (ศาสนทูต) แห่งอัลลอฮ์ ซึ่งองค์ประกอบของมันก็คือ เชื่อทุกสิ่งที่ท่านบอก ตามสิ่งที่มาจากสายรายงานที่ถูกต้องสำหรับเรา และปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านสั่งใช้ และออกห่างจากสิ่งที่ท่านห้าม และจะต้องทำการเคารพอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ด้วยกับสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติเท่านั้น ประการที่สอง คือ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ซึ่งเป็นรุก่นที่สำคัญที่สุด ถัดจากการกล่าวคำปฏิญาณ ในวันหนึ่งและคืนหนึ่งนั้นจะต้องปฏิบัติ 5 ครั้ง ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างบ่าวกับพระเจ้าของเขา และการดำรงไว้ซึ่งการละหมาดนั้น จะต้องปฏิบัติมันอย่างสม่ำเสมอ ประการที่สาม จ่ายซะกาต ซึ่งการจ่ายซะกาตนั้นถือเป็นอิบาดะฮ์ด้านทรัพย์สิน และจะต้องจ่ายออกไปปีละ 1 ครั้ง เมื่อครบรอบปีหรือเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งการจ่ายซะกาตนั้นมีคุณประโยชน์มากมาย ด้วยเหตุนี้มันจึงอยู่ก่อนการประกอบพิธีฮัจญ์และการถือศีลอดและอยู่หลังจากการละหมาด ประการที่สี่ การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ ซึ่งเป็นอิบาดะฮ์ด้านร่างกาย เพราะทุกคนจะต้องปฏิบัติมันด้วยตัวเอง และสามารถให้ผู้อื่นกระทำแทนได้สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ให้ทำแทน ซึ่งการประกอบพิธีฮัจย์นั้นก็เป็นอิบาดะฮ์ด้านทรัพย์สินเช่นเดียวกัน เพราะต้องใช้ทรัพย์สินและเสบียงด้วย ประการที่ห้าคือการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ซึ่งเป็นอิบาดะฮ์ที่ไม่ซับซ้อน แต่จะต้องละทิ้งสิ่งต่างๆ ที่ถูกกำหนดไว้ด้วยการตั้งเจตนา ซึ่งสิ่งที่ต้องละทิ้งก็คือ สิ่งที่ทำให้เสียการถือศีลอด และวายิบต้องถือศีลอดปีละ 1 เดือน นั่นก็คือเดือนเราะมะฎอน และหากปราศจากประการแรก จะถือว่าอิสลามของบุคคลคนหนึ่งจะใช้ไม่ได้ และประการที่สอง ซึ่งมันคือการละหมาด ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นจึงมีรายงานจากท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ฉันเคยได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "c2">“แท้จริงระหว่างคนๆ หนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธศรัทธา คือการทิ้งละหมาด” (บันทึกโดยมุสลิม) ซึ่งเป็นไปตามความหมายผิวเผินของหะดีษ และในเรื่องนี้ไม่มีการยืนยันว่ามีหะดีษบทใดที่มาขัดแย้งกับหะดีษบทนี้ เพียงแต่มีการนำเสนอการดึงความเข้าใจจากตัวบทหลักฐานที่ไม่ตรงกับความเข้าใจของบรรดาสลัฟ ซึ่งบรรดาเศาะฮาบะฮ์มีมติเอกฉันท์ว่าผู้ที่ทิ้งละหมาดเป็นกาเฟร และอับดุลลอฮ์ บินชะกีก อัลอุก็อยลีย์ ได้กล่าวว่า "c2">“ปรากฏว่าบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่เห็นว่าการกระทำใดๆ ที่การละทิ้งมันนั้นเป็นกาเฟร (ปฏิเสธศรัทธา) นอกจากการละหมาด” (บันทึกโดยอิหม่ามติรมีซีย์ ในหนังสือญาเมี๊ยะของท่าน และอัลมะรูวีย์ ในหนังสือ ตะอฺซีมก็อดริศเศาะลาฮ์) ส่วนอีก 3 ประการที่เหลือ ผู้ใดที่ละทิ้งมันโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ ถือว่าอิสลามของเขาบกพร่อง และเขาจะอยู่ในการหลงผิดและอันตราย แต่ไม่ถึงขั้นปฏิเสธศรัทธา โดยยึดตามตัวบทหลักฐานอื่นๆ

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การกล่าวถึงจำนวนเป็นตัวเลขในตอนต้นของคำพูดนั้น เป็นแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพราะมันจะช่วยกระตุ้นผู้ฟังให้เข้าใจในสิ่งนั้น ทำให้เขาอยากรู้ และดึงดูดให้ตัวเองได้รับและเข้าใจสิ่งนั้น เพื่อที่ว่าถ้าเขาพลาดสิ่งใดไป เขาจะพยายามทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ขาดหายไป
  2. จำเป็นต้องสัมพันธ์กันระหว่าวชะฮาดะฮ์ทั้งสอง (คำปฏิญาณทั้งสอง),และวายิบต้องรวมทั้งสองชะฮาดะฮ์ไปด้วยกัน และหากไปเจาะจงเฉพาะอันหนึ่งอันใด คำปฏิญาณก็ไร้ประโยชน์
  3. ชะฮาดะฮ์ทั้งสองเป็นรากฐานอยู่ในตัวของมันเอง และเป็นรากฐานสำหรับรุก่นที่เหลือด้วย และเป็นรากฐานสำหรับการงานทุกอย่างที่เป็นการใกล้ชิดอัลลอฮ์ และถ้าหากว่าการงานใดมิใด้ตั้งอยู่บนรากฐานของชะฮาดะฮ์ การงานนั้นก็จะถูกปฏิเสธต่อผู้กระทำ และไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ยังประโยชน์อันใดเลยแก่ผู้กระทำ ณ ที่อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮุวะตะอาลา.
  4. ชะฮาดะฮ์ทั้งสองนั้นครอบคลุมศาสนาทั้งหมดและการงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายใน
  5. ในหะดีษนั้นเป็นการชี้ให้เห็นว่า จำเป็นต้องเริ่มด้วยเรื่องที่สำคัญที่สุด แล้วก็เรื่องที่สำคัญรองลงมาตามลำดับ
  6. ความสำคัญของการดำรงละหมาดตามรูปแบบที่ถูกต้อง
  7. ความสำคัญของการถือศีลอด จ่ายซะกาตและฮัจญ์ และใครก็ตามที่ละเลยรุก่นใดรุ่ก่นหนึ่ง ศาสนาของเขาผู้นั้นก็จะบกพร่องไปด้วย
  8. แท้จริงหะดีษนี้เป็นรากฐานสำคัญในการรู้จักศาสนา ซึ่งศาสนาวางอยู่บนพื้นฐานของหะดีษที่ได้รวบรวมรุก่นต่างๆ เอาไว้
  9. แท้จริงฟัรฎู (จำเป็นต้องกระทำ) ทั้ง 5 ประการนี้เป็นฟัรฎูเฉพาะตัวบุคคล มันจะไม่หลุดจากบุคคลหนึ่งด้วยการปฏิบัติของอีกบุคคลหนึ่ง
หมวดหมู่​
ดูเพิ่มเติม