عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه قال:
بَيْنَمَا نَحْنُ عِنْدَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَاتَ يَوْمٍ إِذْ طَلَعَ عَلَيْنَا رَجُلٌ شَدِيدُ بَيَاضِ الثِّيَابِ، شَدِيدُ سَوَادِ الشَّعَرِ، لَا يُرَى عَلَيْهِ أَثَرُ السَّفَرِ، وَلَا يَعْرِفُهُ مِنَّا أَحَدٌ، حَتَّى جَلَسَ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَسْنَدَ رُكْبَتَيْهِ إِلَى رُكْبَتَيْهِ، وَوَضَعَ كَفَّيْهِ عَلَى فَخِذَيْهِ، وَقَالَ: يَا مُحَمَّدُ، أَخْبِرْنِي عَنِ الْإِسْلَامِ، فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «الْإِسْلَامُ أَنْ تَشْهَدَ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللهِ، وَتُقِيمَ الصَّلَاةَ، وَتُؤْتِيَ الزَّكَاةَ، وَتَصُومَ رَمَضَانَ، وَتَحُجَّ الْبَيْتَ إِنِ اسْتَطَعْتَ إِلَيْهِ سَبِيلًا» قَالَ: صَدَقْتَ، قَالَ: فَعَجِبْنَا لَهُ، يَسْأَلُهُ وَيُصَدِّقُهُ، قَالَ: فَأَخْبِرْنِي عَنِ الْإِيمَانِ، قَالَ: «أَنْ تُؤْمِنَ بِاللهِ، وَمَلَائِكَتِهِ، وَكُتُبِهِ، وَرُسُلِهِ، وَالْيَوْمِ الْآخِرِ، وَتُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ خَيْرِهِ وَشَرِّهِ» قَالَ: صَدَقْتَ، قَالَ: فَأَخْبِرْنِي عَنِ الْإِحْسَانِ، قَالَ: «أَنْ تَعْبُدَ اللهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ» قَالَ: فَأَخْبِرْنِي عَنِ السَّاعَةِ، قَالَ: «مَا الْمَسْؤُولُ عَنْهَا بِأَعْلَمَ مِنَ السَّائِلِ» قَالَ: فَأَخْبِرْنِي عَنْ أَمَارَتِهَا، قَالَ: «أَنْ تَلِدَ الْأَمَةُ رَبَّتَهَا، وَأَنْ تَرَى الْحُفَاةَ الْعُرَاةَ الْعَالَةَ رِعَاءَ الشَّاءِ يَتَطَاوَلُونَ فِي الْبُنْيَانِ» قَالَ: ثُمَّ انْطَلَقَ، فَلَبِثْتُ مَلِيًّا ثُمَّ قَالَ لِي: «يَا عُمَرُ، أَتَدْرِي مَنِ السَّائِلُ؟» قُلْتُ: اللهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ، قَالَ: «فَإِنَّهُ جِبْرِيلُ، أَتَاكُمْ يُعَلِّمُكُمْ دِينَكُمْ».

[صحيح] - [رواه مسلم]
المزيــد ...

จากอุมัร อิบนุลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
วันหนึ่ง ในขณะที่พวกเรากำลังอยู่พร้อมกับท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้มีชายคนหนึ่งที่มีเสื้อผ้าขาวผ่อง ผมดำสนิท ไม่มีร่องรอยของการเดินทางเลย เข้ามาหาพวกเรา และก็ไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาได้นั่งลงตรงหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะสัลลัม โดยที่หัวเข่าของเขากับหัวเข่าของท่านนบีประกบกัน และวางสองฝ่ามือของเขาลงบนโคนขาของท่านนบี พร้อมกล่าวว่า "c2">“โอ้มุหัมมัด ! จงบอกฉันเกี่ยวกับอิสลามด้วยเถิด?” ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า "c2">“อิสลาม คือ การที่ท่านกล่าวคำปฏิญานว่า “ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮ์ วะอันนะ มุหัมมะดัน เราะซูลุลลอฮ์”
(แปลว่า ไม่มีพระเจ้าที่แท้จริง –ที่สมควรแก่การเคารพสักการะ- นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และมุหัมมัด คือ ศาสนฑูตของพระองค์) ดำรงการละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอดในเดือนเราะมาฎอน และประกอบพิธีหัจญ์หากท่านมีความสามารถ” เขากล่าวว่า "c2">“ท่านพูดถูกแล้ว” เขา(อุมัร) กล่าวว่า "c2">“พวกเรารู้สึกแปลกใจต่อเขาที่สอบถามท่านนบีแล้วเขากล่าวรับรอง” เขากล่าวอีกว่า "c2">“แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับอีหม่านด้วยเถิด? ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า “คือ การที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮ์ บรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ คัมภีร์ต่างๆ ของพระองค์ บรรดาศาสนฑูตของพระองค์ วันอาคิเราะฮ์ ตลอดจนท่านศรัทธาในกฏอัลเกาะดัรทั้งดีและชั่ว” เขากล่าวว่า "c2">“ท่านพูดถูกแล้ว” เขากล่าวต่อไปอีกว่า "c2">“แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับอิห์ซานด้วยเถิด?” ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า "c2">“คือ การที่ท่านทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ราวกับว่าท่านเห็นพระองค์ และถ้าหากท่านไม่เห็นพระองค์ แท้จริงพระองค์ก็ทรงเห็นท่าน” เขากล่าวว่า "c2">“แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับวันสิ้นโลกด้วยเถิด?” ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า "c2">“คนที่ถูกถามไม่ได้รู้มากไปกว่าคนที่ถาม” เขากล่าวว่า "c2">“แล้วจงบอกฉันเกี่ยวกับสัญญานของมันว่ามีอะไรบ้าง ?” ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า "c2">“คือ การที่ทาสหญิงจะกำเนิดลูกเป็นนายของนาง และท่านจะได้เห็นคนเดินเท้าเปล่า (ไม่ใส่รองเท้า) ไม่สวมเสื้อผ้า ยากจน เลี้ยงแพะแกะต่างพากันปลูกตึกสูง ๆ (อุมัร) เล่าว่า จากนั้น เขาคนนั้นก็จากไป แล้วฉัน(อุมัร)ก็หายหน้าไปหลายวัน ต่อมาท่านนบีก็ได้ถามฉันว่า “โอ้อุมัร ! เจ้ารู้หรือไม่ว่าคนถามนั้นเป็นใคร? ฉันตอบว่า “อัลลอฮ์และเราะซูลของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า” ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ตอบว่า "c2">“แท้จริงแล้วเขาคือญิบรีล เขามาหาพวกเจ้าเพื่อสอนศาสนาให้แก่พวกเจ้า”
เศาะฮีห์ - รายงานโดย มุสลิม

คำอธิบาย​

อุมัร อิบนุลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า มลาอิกะฮ์ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม ได้มาหาบรรดาเศาะฮาบะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ในรูปของชายคนหนึ่งที่ไม่มีใครรู้จัก และส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะของเขาคือ เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาด ผมของเขาดำสนิท ไม่มีร่องรอยบ่งบอกว่าเขาเป็นผู้เดินทาง เช่น ความเหนื่อยล้า ฝุ่นผง ผมที่แยกส่วน และเสื้อผ้าที่สกปรก และไม่มีใครรู้จักเขา โดยที่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ได้นั่งร่วมอยู่กับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากนั้นเขาก็เข้าไปนั่งหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในลักษณะของผู้เรียน และเขาได้ถามท่านนบีเกี่ยวกับอิสลาม ท่านก็ตอบเขาด้วยหลักการของศาสนาที่ประกอบด้วย การกล่าวคำปฏิญาณทั้งสอง การดำรงไว้ซึ่งการละหมาดห้าเวลา การจ่ายซะกาตแก่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และการทำหัจญ์สำหรับผู้มีความสามารถ
ผู้ถามกล่าวว่า: ท่านพูดถูก จึงทำให้บรรดาเศาะฮาบะฮ์รู้สึกประหลาดใจกับคำถามของเขาที่แสดงถึงความไม่รู้อะไรเลย แต่แล้วเขาก็กลับยืนยันในความถูกต้องของคำตอบ
จากนั้นเขาถามท่านเกี่ยวกับหลักการศรัทธา ท่านจึงตอบเขาเกี่ยวกับหลักการศรัทธาทั้งหกประการ ซึ่งประกอบด้วยการศรัทธาต่อการมีอยู่ของอัลลอฮ์ ตะอาลา และคุณลักษณะของพระองค์ ศรัทธาในความเป็นเอกะของพระองค์ในด้านการสร้างของพระองค์และในด้านการทำอิบาดะฮ์ต่อพระองค์เพียงองค์เดียว ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ที่อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้นจากรัศมี พวกเขาคือบ่าวของอัลลอฮ์ที่มีเกียรติ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนต่อพระองค์ และพวกเขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮ์ ตะอาลา ซึ่งถูกประทานลงมาแก่บรรดาเราะซูลของพระองค์ เช่น อัลกุรอาน อัตเตารอต อัลอินญีล และอื่นๆ ศรัทธาต่อบรรดาเราะซูลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮ์ ซึ่งส่วนหนึ่งจากบรรดาเราะซูลเหล่านั้น ได้แก่ นูห์ อิบรอฮีม มูซา อีซา และคนสุดท้ายคือมูหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิมวะสัลลัม และศรัทธาต่อบรรดาเราะซูลและบรรดานบีท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน ศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮ์และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความตาย ชีวิตในหลุมฝังศพ ซึ่งมนุษย์จะถูกฟื้นคืนชีพหลังจากความตายและจะถูกนำมาสอบสวน และบั้นปลายของเขาอาจสิ้นสุดที่สวรรค์หรือนรก และศรัทธาว่าอัลลอฮ์ได้กำหนดสิ่งต่างๆ ตามความรอบรู้ ความปรีชาญาณ การบันทึก และความประสงค์ของพระองค์ และทั้งหมดจะเกิดขึ้นตามที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดไว้ และทรงสร้างให้มันเกิดขึ้นมา แล้วเขาถามท่านนบีเกี่ยวกับอิห์ซาน ท่านจึงตอบเขาว่าอิห์ซานคือ การที่บ่าวคนหนึ่งได้ทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ราวกับว่าเขาเห็นพระองค์ แต่ถ้าเขาไม่สามารถบรรลุถึงสถานะนั้นได้ ก็ให้เขาทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ราวกับว่าพระองค์กำลังเฝ้าดูเขาอยู่ ดังนั้น สถานะแรก (อัลมุชาฮะดะฮ์) คือสถานะของการรู้เห็นซึ่งเป็นสถานะที่สูงที่สุด และสถานะที่สอง (อัลมุรอกอบะฮ์) คือสถานะของการเฝ้าติดตาม
แล้วเขาก็ถามเกี่ยวกับวันกิยามะฮ์ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อไร? ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายว่า ความรู้เกี่ยวกับวันกิยามะฮ์นั้น เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงรักษาไว้ในความรู้ของพระองค์ ดังนั้น ไม่มีผู้ใดสามารถรู้เรื่องนี้ได้ทั้งผู้ถูกถามและผู้ถาม
แล้วเขาได้ถามท่านเกี่ยวกับสัญญาณแห่งวันอวสาน ดังนั้น ท่านนบีจึงอธิบายว่า ส่วนหนึ่งในบรรดาสัญญาณต่างๆ นั้นก็คือ จะมีทาสีและและลูกๆของนางมากมาย หรือจะเกิดการเนรคุณของบรรดาลูกๆ ต่อมารดาของพวกเขา ซึ่งพวกเขาจะปฏิบัติต่อมารดาของพวกเขาเหมือนทาสี และคนเลี้ยงแกะคนยากจน พวกเขาจะได้รับความสะดวกสบายในยุคสุดท้ายแห่งโลกนี้ ซึ่งพวกเขาจะแข่งขันโอ้อวดกันในการตกแต่งและก่อสร้างตึกอาคาร
จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่า แท้จริงผู้ถามคนนั้นคือมลาอิกะฮ์ญิบรีล ซึ่งมาสอนศาสนาที่บริสุทธิ์นี้แก่บรรดาเศาะฮาบะฮ์

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. มารยาทที่ดีงามของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งท่านได้นั่งร่วมกับบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของท่านและพวกเขาก็นั่งร่วมกับท่าน
  2. ศาสนาได้บัญญัติให้มีความอ่อนโยนกับผู้ถามและให้เขาเข้ามาใกล้ เพื่อที่เขาจะได้ถามโดยไม่เกิดความเกร็งหรือกลัว
  3. มีความสุภาพกับผู้สอน เช่นการกระทำของญิบรีล อะลัยอิสสลาม โดยที่เขานั่งต่อหน้าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในลักษณะของผู้มีมารยาทที่จะเรียนรู้จากท่าน
  4. หลักการอิสลามมีห้าประการ และรากฐานของการศรัทธามีหกประการ
  5. เมื่อคำว่าอิสลามและคำว่าอีหม่านได้มาอยู่ในที่เดียวกัน คำว่าอิสลามจะถูกอธิบายด้วยการกระทำภายนอก และอีหม่านจะถูกอธิบายด้วยเรื่องภายใน
  6. ศาสนานั้นมีระดับที่แตกต่างกัน ระดับแรก อิสลาม ระดับที่สอง อีหม่าน และระดับที่สาม อิห์ซาน ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุด
  7. หลักเดิมสำหรับผู้ที่จะถามคือการไม่รู้ และความไม่รู้เป็นเหตุจูงใจของคำถาม ดังนั้นบรรดาเศาะฮาบะฮ์จึงประหลาดใจกับคำถามของเขาและคำรับรองความถูกต้องของเขา
  8. การเริ่มด้วยสิ่งที่สำคัญที่สุด จากนั้นต่อด้วยสิ่งที่สำคัญรองลงมาตามลำดับ เพราะศานาเริ่มด้วยการกล่าวปฏิญาณทั้งสองในการอธิบายถึงหลักการอิสลาม และเริ่มด้วยการศรัทธาอัลลอฮ์ในการอธิบายถึงหลักการศรัทธา
  9. อนุญาตให้ถามผู้รู้ในสิ่งที่ผู้ถามนั้นรู้อยู่แล้ว เพื่อให้คนอื่นจะได้รู้
  10. ความรู้เกี่ยวกับวันกิยะมะฮ์เป็นความรู้ที่อัลลอฮ์ทรงรักษาไว้ในความรอบรู้ของพระองค์เท่านั้น