+ -

عن جابر رضي الله عنه:
أَنَّ رَجُلًا سَأَلَ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: أَرَأَيْتَ إِذَا صَلَّيْتُ الصَّلَوَاتِ الْمَكْتُوبَاتِ، وَصُمْتُ رَمَضَانَ، وَأَحْلَلْتُ الْحَلَالَ، وَحَرَّمْتُ الْحَرَامَ، وَلَمْ أَزِدْ عَلَى ذَلِكَ شَيْئًا، أَأَدْخُلُ الْجَنَّةَ؟ قَالَ: «نَعَمْ»، قَالَ: وَاللهِ لَا أَزِيدُ عَلَى ذَلِكَ شَيْئًا.

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 15]
المزيــد ...

จากท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า :
มีชายคนหนึ่งถามท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า “ท่านมีความเห็นอย่างไร หากฉันได้ทำการละหมาดตามที่ถูกบัญญัติไว้ ฉันถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และสิ่งที่อนุมัติฉันก็ยึดถือ และสิ่งที่ต้องห้ามฉันก็ยึดถือ และฉันไม่เพิ่มเติมสิ่งใด ๆ ที่นอกจากนั้น ฉันจะได้เข้าสวรรค์ไหม?” ท่านตอบว่า “ใช่” ชายคนนั้นกล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันจะไม่เพิ่มเติมสิ่งใด ๆ ที่นอกจากนั้น

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 15]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อธิบายว่า หากผู้ใดได้ทำการละหมาดที่ได้ถูกบัญญัติไว้ห้าเวลา และไม่ทำสิ่งใดเพิ่มเติมที่เป็นการละหมาดสุนนะฮ์ และถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและไม่ทำสิ่งที่เป็นการถือศีลอดสุนนะฮ์ และยึดมั่นถึงการอนุมัติในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติและได้ปฏิบัติตาม และยึดมั่นถึงการต้องห้ามในสิ่งที่ศาสนาได้กำหนดเป็นสิ่งต้องห้ามและหลีกห่างจากสิ่งนั้น โดยเขาผู้นั้นจะได้เข้าสวรรค์

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย ภาษาทาจิก คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก الموري ภาษามาลากาซี ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา الولوف البلغارية ภาษาอาเซอร์ไบจาน اليونانية ภาษาอุซเบก ภาษายูเครน الجورجية اللينجالا المقدونية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความกระตือรือร้นของมุสลิมในการกระทำสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ และละทิ้งสิ่งที่ต้องห้าม โดยมีเป้าหมายจากการกระทำนั้นคือการได้เข้าสวรรค์
  2. ความสำคัญของการกระทำสิ่งที่ศาสนาอนุมัติและเชื่อมั่นถึงสิ่งที่ศาสนาได้อนุมัติไว้ และหลีกห่างจากสิ่งต้องห้าม และเชื่อมั่นถึงสิ่งที่ศาสนาได้ต้องห้ามไว้
  3. การกระทำสิ่งที่ได้บัญญัติไว้ที่เป็นสิ่งวาญิบทั้งหลาย (จำเป็น) และละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย เป็นสาเหตุเพื่อการเข้าสรวงสวรรค์
ดูเพิ่มเติม