عن عمر بن الخطاب رضي الله عنه قال: إنه سمع نبي الله صلى الله عليه وسلم يقول:
«لَو أَنَّكُمْ تَتَوَكَّلُونَ عَلَى اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ، لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ، تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا».

[صحيح] - [رواه الترمذي وابن ماجه وأحمد]
المزيــد ...

จากอุมัร อิบนุลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: แท้จริงฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"c2">“หากพวกเจ้ามอบหมายต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริง แน่นอน พระองค์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพให้พวกเจ้า เหมือนที่พระองค์ทรงประทานให้กับนก โดยที่มันบินออกไปในตอนเช้าในสภาพที่ท้องว่างและกลับมาในตอนเย็นในสภาพที่ท้องอิ่ม”

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อิบนุมาญะฮ์

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับให้เรามอบหมายต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา ในการแสวงหาประโยชน์และกำจัดภัยต่างๆ ทั้งในเรื่องทางโลกหรือทางศาสนา เพราะแท้จริงไม่มีผู้ใดที่จะให้ หรือยับยั้ง หรือให้โทษ หรือให้ประโยชน์ นอกจากพระองค์เท่านั้น และยังกำชับให้เราทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดประโยชน์ และกำจัดสิ่งที่จะเป็นโทษ พร้อมกับมอบหมายต่ออัลลอฮ์อย่างสัจจริง ดังนั้นเมื่อไรที่เราได้ทำเช่นนั้น แน่นอนอัลลอฮ์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เราเหมือนกับที่พระองค์ทรงประทานให้แก่นกที่ออกหากินในตอนเช้าในสภาพที่ท้องหิวแล้วกลับมาในสภาพที่ท้องอิ่ม ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของนกเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ ไม่ใช่การยอมจำนนและเกียจคร้าน

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความประเสริฐของการมอบหมายต่ออัลลอฮ์ ซึ่งมันเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญในการได้มาซึ่งปัจจัยยังชีพ
  2. การมอบหมายต่ออัลลอฮ์ไม่ได้ขัดแย้งกับการกระทำที่เป็นสาเหตุ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บอกว่าการมอบหมายที่แท้จริงนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับการออกไปในยามเช้าและการกลับมาในยามเย็นเพื่อการแสวงหาปัจจัยยังชีพ
  3. ศาสนาให้ความสำคัญกับงานของจิตใจ เพราะการมอบหมายต่ออัลลอฮ์นั้นเป็นงานของจิตใจอย่างหนึ่ง
  4. การยึดติดกับสาเหตุเพียงอย่างเดียวคือความบกพร่องในด้านศาสนา และการไม่สนใจในสาเหตุเลยนั้นคือความบกพร่องในด้านสติปัญญา
ดูเพิ่มเติม