หมวดหมู่​: คุณธรรมและมารยาท .

عن عائشة رضي الله عنها عن النبي صلى الله عليه وسلم قال:
«إِنَّ أَبْغَضَ الرِّجَالِ إِلَى اللهِ الْأَلَدُّ الْخَصِمُ».

[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากอาอีชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"c2">“แท้จริงบุคคลที่อัลลอฮ์ทรงกริ้วที่สุดคือ ผู้ที่ชอบโต้เถียงกันอย่างรุนแรง”

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงเกลียดผู้ที่ชอบและดื้อรั้นในการโต้เถียงกัน ซึ่งเขาจะไม่ยอมรับความจริงและพยายามผลักไสด้วยการโต้แย้ง หรือผู้ที่โต้เถียงกันด้วยสัจธรรมแต่เขาเลยเถิดออกนอกกรอบของคุณธรรม และโต้เถียงกันโดยปราศจากความรู้

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การเรียกร้องสิทธิ์ของผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมตามกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นการโต้เถียงที่ไม่ดีน่ารังเกียจ
  2. การโต้เถียงกันและการชิงดีชิงเด่นกันนั้นเป็นความหายนะประการหนึ่งที่เกิดจากการใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันและการแตกแยกในหมู่ชาวมุสลิม
  3. การพิพาทกันเป็นสิ่งที่ดีน่ายกย่อง หากมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสัจธรรมและใช้รูปแบบที่ดี และการพิพาทกันจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีน่าตำหนิ หากมันเป็นการปฏิเสธสัจธรรมและยืนยัดความเท็จ หรือการพิพาทที่ไม่มีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ใด ๆ
ดูเพิ่มเติม