+ -

عَنْ أَنَسٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قالَ:
«لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ، حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 13]
المزيــد ...

จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่พวกเจ้าจะยังไม่ศรัทธา (โดยสมบูรณ์) จนกว่าเขาจะรักพี่น้องของเขาเสมือนกับที่เขารักตัวของเขาเอง"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 13]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แสดงให้เห็นชัดเจนว่าความศรัทธาที่สมบูรณ์ของมุสลิมคนใดจะไม่บรรลุผลจนกว่าจะมีความรักต่อพี่น้องเหมือนที่เขารักตัวเองในเรื่องของการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ และการทำความดีทั้งในด้านศาสนาและชีวิตประจำวัน รวมถึงความเกลียดสิ่งที่เขาเกลียดให้แก่ตัวเอง หากพบข้อบกพร่องในด้านศาสนาในตัวพี่น้อง เขาจะพยายามแก้ไข และหากพบสิ่งดีในตัวพี่น้อง เขาจะสนับสนุนและช่วยเหลือ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและชีวิตประจำวัน

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาเนปาล
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. จำเป็นที่บุคคลต้องรักพี่น้องของเขาในสิ่งที่เขารักให้แก่ตนเอง เพราะการปฏิเสธความศรัทธาของผู้ที่ไม่รักพี่น้องในสิ่งที่เขารักให้แก่ตัวเอง เป็นข้อบ่งชี้ถึงความจำเป็นในเรื่องนี้
  2. ความเป็นพี่น้องในพระเจ้าอยู่เหนือการเป็นพี่น้องทางสายเลือด ดังนั้นสิทธิของการเป็นพี่น้องในพระเจ้าจึงเป็นข้อบังคับมากกว่า
  3. การห้ามทุกสิ่งที่ขัดแย้งกับความรักนี้ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำ เช่น การหลอกลวง การนินทา ความอิจฉาริษยา และการละเมิดต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือเกียรติของพี่น้องมุสลิม
  4. การใช้ถ้อยคำที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า "เพื่อพี่น้องของเขา"
  5. ท่านอัล-คิรฺมานี เราะหิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า: ส่วนหนึ่งของอีมาน (ความศรัทธา) คือ การที่คนหนึ่งเกลียดสิ่งที่เขาเกลียดสำหรับตัวเองให้แก่พี่น้องของเขาจากความชั่วร้าย และท่านนบีไม่ได้กล่าวถึงความเกลียดนี้โดยตรง เพราะการรักในสิ่งหนึ่งย่อมบังคับให้เกลียดสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องระบุไว้อย่างชัดเจน
ดูเพิ่มเติม