عن عبد الله بن عمرو رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه وسلم قال:
«لَيْسَ الْوَاصِلُ بِالْمُكَافِئِ، وَلَكِنِ الْوَاصِلُ الَّذِي إِذَا قُطِعَتْ رَحِمُهُ وَصَلَهَا».

[صحيح] - [رواه البخاري]
المزيــد ...

จากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอัมร์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา รายงานว่า: แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ไม่นับว่าเป็นผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่ถือปฏิบัติการเชื่อมสัมพันธ์เฉพาะผู้ที่เชื่อมต่อกับเขา แต่ผู้ที่ทำการเชื่อมสัมพันธ์ที่แท้จริงนั้นคือเมื่อมีการตัดการเชื่อมสัมพันธ์กับเขา เขาก็เชื่อมสัมพันธ์นั้น"

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า บุคคลที่สมบูรณ์ในการเชื่อมสัมพันธ์และเมตตาต่อเครือญาตินั้น ไม่ใช่ผู้ทำความดีเพื่อตอบแทนความดี แต่ผู้ที่ทำการเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาตที่สมบูรณ์ที่แท้จริงนั้นคือผู้เชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่ตัดขาดกับเขา แม้พวกเขาจะทำไม่ดีกับเขาก็ตาม แต่เขาก็มุ่งหน้าทำดีต่อพวกเขา

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามนั้นคือการที่คุณเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่ตัดขาดจากคุณ และการที่คุณให้อภัยแก่ผู้ที่ทำผิดต่อคุณ และให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่ไม่ใส่ใจคุณ และไม่ถือเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ด้วยการตอบแทนในความดีที่ทำระหว่างกัน
  2. การเชื่อมสัมพันธ์ทางเครือญาตินั้ยเกิดขึ้นด้วยการส่งความดีแก่พวกเขาเท่าที่จะทำได้ จะเป็นการช่วยเหลือทางทรัพย์สินเงินทอง การขอดุอาอ์ให้กัน การใช้ให้ทำความดี และการห้ามทำความชั่ว เป็นต้น และการปกป้องพวกเขาจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
ดูเพิ่มเติม