عن أبي هريرة رضي الله عنه عن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال:
«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَلْيُكْرِمْ جَارَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ».
[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 47]
المزيــد ...
จากอบูฮุรัยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
"ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์ เขาก็จงพูดแต่ในสิ่งที่ดีหรือไม่ก็นิ่งเงียบเสีย และผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์ เขาก็จงให้เกียรติเพื่อนบ้านของเขา และผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์ เขาก็จงให้เกียรติแขกของเขา"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 47]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายว่าแท้จริงบ่าวที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์ที่เขาจะต้องกลับไปและจะได้รับการตอบแทนตามการกระทำของเขา การศรัทธาของเขาจะกระตุ้นให้เขาปฏิบัติความดีเหล่านี้:
ประการแรก: คำพูดที่ดี เช่น การกล่าวตัสบีห์ กล่าวตะฮ์ลีล สั่งใช้กันในสิ่งที่ถูกต้อง ห้ามปรามในสิ่งที่ผิดและสร้างความปรองดองระหว่างผู้คน และหากเขาไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ ก็จงเงียบเสีย ไม่สร้างความเดือดร้อน และรักษาการพูดให้ดี
ประการที่สอง: ให้เกียรติเพื่อนบ้าน ด้วยการกระทำดีต่อเขาและไม่ทำร้ายเขา
ประการที่สาม: ให้เกียรติแขกที่มาเยี่ยมเจ้า พูดจาอย่างสุภาพ จัดเตรียมอาหารให้ และอื่น ๆ