+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«مَنْ كَانَتْ لَهُ مَظْلَمَةٌ لِأَخِيهِ مِنْ عِرْضِهِ أَوْ شَيْءٍ فَلْيَتَحَلَّلْهُ مِنْهُ اليَوْمَ، قَبْلَ أَلا يَكُونَ دِينَارٌ وَلاَ دِرْهَمٌ، إِنْ كَانَ لَهُ عَمَلٌ صَالِحٌ أُخِذَ مِنْهُ بِقَدْرِ مَظْلَمَتِهِ، وَإِلَمْ تَكُنْ لَهُ حَسَنَاتٌ أُخِذَ مِنْ سَيِّئَاتِ صَاحِبِهِ فَحُمِلَ عَلَيْهِ».

[صحيح] - [رواه البخاري] - [صحيح البخاري: 2449]
المزيــد ...

จากอบูฮูรัยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ผู้ใดที่เขามีการอธรรมต่อพี่น้องของเขาในเรื่องเกียรติ์ศักดิ์ศรีของเขาหรือสิ่งอื่นใด เขาก็จงไปขออภัย(ฮะลาล)กับเขาเสียแต่ในวันนี้เถิด ก่อนที่ถึง(วัน)ที่ไม่มีทองไม่มีเงิน หากเขามีความดีใดๆ อยู่ ก็จะถูกเอาไปจากเขาตามปริมาณที่เขาไปอธรรมไว้ แต่หากเขาไม่มีความดีใดอีก จะถูกเอาบาปจากคู่กรณีของเขาแล้วให้เขาแบกรับมันไว้แทน”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 2449]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้ทุกคนที่ได้กระทำความอยุติธรรมต่อพี่น้องมุสลิมของเขา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเกียรติยศ ทรัพย์สิน หรือชีวิต ให้ขออภัยจากผู้ที่เขาได้ทำร้ายไว้ ตราบใดที่ยังอยู่ในโลกดุนยา ก่อนที่จะมาถึงวันกิยามะฮฺ วันที่ซึ่งดินาร์ทองคำหรือเดีรฮัมเงินจะไม่สามารถช่วยไถ่ตัวเขาได้อีกต่อไป เพราะการชดใช้ในวันนั้นจะกระทำกันด้วยความดีและความชั่ว คือ ผู้ถูกอธรรมจะได้เอาความดีของผู้กระทำความอธรรมไปตามส่วนของความอยุติธรรมที่เขาได้รับ และหากผู้กระทำความอธรรมไม่มีความดีเหลืออยู่ ความชั่วของผู้ถูกอธรรมก็จะถูกโยนไปยังผู้กระทำความอธรรม ตามส่วนของความอยุติธรรมนั้น

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ระวังให้อยู่ห่างจากความอยุติธรรมและความก้าวร้าว
  2. การส่งเสริมให้รีบดำเนินการเพื่อให้พ้นจากภาระผูกพันในสิทธิที่ตนติดค้างไว้กับผู้อื่น
  3. การงานที่ดีงามจะถูกทำให้เสื่อมเสียและผลบุญของมันจะสูญเปล่า ด้วยการอธรรมและการทำร้ายผู้คน
  4. สิทธิของบรรดามนุษย์นั้น อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยให้ เว้นแต่จะต้องคืนสิทธินั้นแก่เจ้าของของมัน
  5. ในโลกดุนยา ดินารและเดอร์ฮัมคือเครื่องมือในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ แต่ในวันกิยามะฮฺ สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนคือความดีและความชั่ว
  6. บรรดานักวิชาการบางท่านกล่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเกียรติ (ของผู้อื่น) ว่า:หากผู้ที่ถูกอธรรมไม่รู้ตัว ก็ไม่จำเป็นต้องไปบอกเขา เช่น ในกรณีที่เคยด่าว่าเขาในที่ประชุมใดที่ประชุมหนึ่ง แล้วภายหลังได้กลับเนื้อกลับตัว (เตาบัต) ก็ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งให้เขารู้ แต่ให้ขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) ให้แก่เขา และขอดุอาอ์ให้เขา และกล่าวยกย่องเขาในทางดีในที่ประชุมที่เคยด่าว่าเขาไว้ และด้วยวิธีการเช่นนี้ก็ถือว่าได้ขอชดใช้ (ความผิด) ต่อเขาแล้ว
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี الجورجية
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม