عن بريدة بن الحصيب رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : «من تَرَكَ صلاةَ العصرِ فقد حَبِطَ عَمَلُهُ».
[صحيح] - [رواه البخاري]
المزيــد ...
รายงานจากท่านบุร็อยดะฮฺ บิน อัล-หะศีบ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้กล่าว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า "ผู้ใดทิ้งละหมาดอัศรฺ แน่นอนการงานของเขาก็จะไร้ผล"
เศาะฮีห์ - 0
สิ่งที่ได้จากหะดีษคือ บทลงโทษสำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาดอัศรฺโดยเจตนา และเจาะจงละหมาดอัศรฺเพราะส่วนใหญ่จะล่าช้าด้วยความเหนื่อยล้าจากการทำงานในกลางวัน และเพราะการพลาดไม่ทันที่จะละหมาดอัศรฺนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่งกว่าละหมาดอื่นๆ เพราะมันคือละหมาดที่อยู่กึ่งกลางเป็นคำสั่งเฉพาะให้รักษาไว้ ด้วยคำดำรัวของอัลลอฮ ตะอาลา ที่ว่า: (حافظوا على الصلوات والصلاة الوسطى) [البقرة: 238]، ความว่า "พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง" (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่238) และบทลงโทษสำหรับสิ่งนั้นคือ การไร้ผลของการงานของผู้ที่ทิ้งละหมาดนั้น ด้วยผลตอบแทนที่เป็นโมฆะ และมีการกล่าวว่า ความหมายของมันคือผู้ใดที่ทิ้ง เพราะทำไม่ได้หรือทำเพราะมันคือสิ่งวาญิบ ซึ่งความหมาย การไร้ผลของการงานคือกุฟุร(การปฏิเสธศรัทธา) และได้มีหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งนี้ของนักวิชาการบางท่านว่า สำหรับผู้ทิ้งละหมาดอัศรฺนั้นคือ กุฟุร เพราะการงานจะไม่ไร้ผลเว้นแต่ริดดะฮฺ(ตกศาสนา) และมีการกล่าวว่า มาเพื่อเตือนอย่างจริงจัง คือผู้ใดทิ้งมัน ก็เสมือนว่าการงานของเขาก็ไร้ผล และนี่คือความประเสริฐของละหมาดอัศรฺโดยเฉพาะ โดยที่ผู้ใดทิ้งมัน แน่นอนการงานของเขาก็ไร้ผล เพราะมันคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่