عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال:
«أَتَدْرُونَ مَا الْغِيبَةُ؟»، قَالُوا: اللهُ وَرَسُولُهُ أَعْلَمُ، قَالَ: «ذِكْرُكَ أَخَاكَ بِمَا يَكْرَهُ»، قِيلَ: أَفَرَأَيْتَ إِنْ كَانَ فِي أَخِي مَا أَقُولُ؟ قَالَ: «إِنْ كَانَ فِيهِ مَا تَقُولُ فَقَدِ اغْتَبْتَهُ، وَإِنْ لَمْ يَكُنْ فِيهِ فَقَدْ بَهَتَّهُ».
[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 2589]
المزيــد ...
จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
“พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่า การนินทาคืออะไร?” พวกเขา (บรรดาเศาะฮาบะฮ์) กล่าวว่า “อัลลอฮ์และเราะซูลของพระองค์รู้ดีที่สุด” ท่านกล่าวว่า “คือ การที่เจ้ากล่าวถึงพี่น้องของเจ้าในสิ่งที่เขาไม่ชอบ” มีผู้กล่าวว่า “ท่านคิดอย่างไรหากสิ่งที่ฉันกล่าวเกี่ยวกับพี่น้องของฉันนั้น มันเป็นความจริง?” ท่านกล่าวว่า “หากสิ่งที่เจ้ากล่าวถึงเขาเป็นความจริง แท้จริงเจ้าได้นินทาเขา และถ้าไม่เป็นเช่นนั้น แท้จริงแล้วเจ้าได้ใส่ร้ายเขา”
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 2589]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายถึงข้อเท็จจริงของการนินทาที่ต้องห้าม ซึ่งก็คือ: การกล่าวถึงมุสลิมที่ไม่อยู่ต่อหน้าด้วยสิ่งที่เขาเกลียด ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคุณลักษณะทางร่างกายหรือทางจรรยามารยาท เช่น เป็นคนตาบอดข้างหนึ่ง คนหลอกลวง คนโกหก และอื่นๆ ที่เป็นลักษณะการใส่ร้าย แม้ว่าลักษณะนั้นจะมีอยู่จริงในตัวเขาก็ตาม
แต่ถ้าเขาไม่มีคุณลักษณะที่กล่าวไว้นั้น ก็จะยิ่งกว่าการนินทาเสียอีก ซึ่งมันคือการใส่ร้ายนั่นเอง คือ ใส่ร้ายบุคคลด้วยสิ่งที่เขาไม่มี