عن مَرْثَد الغَنَويّ رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال:«لا تصلُّوا إلى القُبُور، ولا تجلِسُوا عليها».
[صحيح] - [رواه مسلم]
المزيــد ...

รายงานจากมัรซัด อัล-เฆาะนะวีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮู จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แท้จริงท่านได้กล่าวว่า "c2">“พวกท่านจงอย่าละหมาดหันไปทางหลุมศพ และพวกท่านจงอย่านั่งบนมัน”
เศาะฮีห์ - รายงานโดย มุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามจากการละหมาดหันไปทางหลุมศพ โดยที่หลุมศพนั้นอยู่ในทิศที่ผู้ละหมาดหันไป และห้ามจากการนั่งบนหลุมศพเช่นเดียวกัน รวมไปถึงการดูถูกด้วยการวางเท้าหรือถ่ายทุกข์บนหลุมศพ ซึ่งเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ห้ามจากการละหมาดหันไปทางหลุมศพ โดยที่หลุมศพนั้นอยู่ในทิศที่ผู้ละหมาดหันไป ซึ่งการห้ามนั้นบ่งบอกถึงความเสื่อมเสียของสิ่งที่ถูกห้าม
  2. ปิดประตูทุกบานที่จะนำพาไปสู่การตั้งภาคี
  3. ห้ามจากการนั่งบนหลุมศพ เพราะมีการดูถูกเหยียดหยามผู้ที่อยู่ในหลุมศพ
  4. การรวมระหว่างการห้ามมิให้สุดโต่งกับหลุมศพและการเหยียดหยามมัน ทั้งนี้เพราะการละหมาดหันไปทางหลุมศพนั้นนำไปสู่การเชิดชูและสุดโต่งกับมัน และการนั่งบนมันนั้นนำไปสู่การเหยียดหยามมัน ดังนั้นอิสลามจึงห้ามสุดโต่งในเรื่องหลุมศพและเหยียดหยามมัน ให้อยู่ในความพอดี
  5. แท้จริงเกียรติของศพมุสลิมนั้นยังงคงเหลืออยู่หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตลงไปแล้ว ซึ่งมีคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มาสนับสนุน คือ “การหักกระดูกของผู้ตายเหมือนการหักกระดูกของคนเป็น” ซึ่งแยกออกมาจากเรื่องนี้ได้ว่า แท้จริงบรรดาผู้ที่เหยียดหยามศพด้วยการตัดอวัยวะของพวกเขาหลังจากที่พวกเขาได้เสียชีวิตไปแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ผิด เพราะนั่นคือการเหยียดหยามและทรมานศพ ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการแขนงฟิกฮฺได้บอกไว้ว่า ห้ามตัดหรือแยกชิ้นส่วนอวัยวะของศพ ถึงแม้ว่าเขาได้สั่งเสียเอาไว้ เพราะเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรก็ได้กับตัวของเขาเอง
  6. อนุญาตให้พิงหลุมศพ ซึ่งมันไม่ใช่การนั่ง แต่ถ้าหากว่าผู้คนนับว่าการพิงนั้นเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือว่าเป็นการเหยียดหยาม ก็ไม่ควรที่จะพิง เพราะข้อคิดต้องดูจากภาพที่ปรากฎ ซึ่งตราบใดที่ภาพนั้นถูกมองว่าเป็นการเหยียดหยามตามขนบธรรมเนียมประเพณีของมนุษย์ ก็สมควรที่จะหลีกเลี่ยงมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่อนุญาตก็ตาม
ดูเพิ่มเติม