+ -

عَنْ ‌عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ:
تَلَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ هَذِهِ الْآيَةَ: {هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ، وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ، وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ} [آل عمران: 7]. قَالَتْ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «فَإِذَا رَأَيْتِ الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ فَأُولَئِكَ الَّذِينَ سَمَّى اللهُ، فَاحْذَرُوهُمْ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 4547]
المزيــد ...

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า :
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านโองการนี้: {هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ، وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ، وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ} [آل عمران: 7] {พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่ท่าน ในนั้นมีโองการที่ชัดเจนซึ่งเป็นรากฐานของคัมภีร์ และบางโองการไม่ชัดเจน ผู้ที่มีใจเอนเอียงออกจากความจริง เขาจะตามโองการที่มีความคลุมเครือ เพื่อแสวงหาความขัดแย้งและแสวงหาการตีความ [ที่เป็นเท็จ] ในโองการนั้น และไม่มีใครรู้ความหมายของโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้รอบรู้ในความรู้กล่าวว่า เราศรัทธาในสิ่งนี้ ทั้งหมดนี้มาจากพระผู้อภิบาลของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น} [ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน: 7] ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ได้กล่าวต่อว่า ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “หากพวกเจ้าเห็นบรรดาผู้ปฏิบัติตามโองการต่างๆ ที่คลุมเครือ ดังนั้นพวกเขาคือผู้ที่อัลลอฮ์ทรงตั้งชื่อให้ ดังนั้นจงระวังพวกเขาให้ดี".

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 4547]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านโองการนี้: {هُوَ الَّذِي أَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ مِنْهُ آيَاتٌ مُحْكَمَاتٌ هُنَّ أُمُّ الْكِتَابِ وَأُخَرُ مُتَشَابِهَاتٌ فَأَمَّا الَّذِينَ فِي قُلُوبِهِمْ زَيْغٌ فَيَتَّبِعُونَ مَا تَشَابَهَ مِنْهُ ابْتِغَاءَ الْفِتْنَةِ وَابْتِغَاءَ تَأْوِيلِهِ وَمَا يَعْلَمُ تَأْوِيلَهُ إِلَّا اللَّهُ وَالرَّاسِخُونَ فِي الْعِلْمِ يَقُولُونَ آمَنَّا بِهِ كُلٌّ مِنْ عِنْدِ رَبِّنَا وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ} {พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่ท่าน ในนั้นมีโองการที่ชัดเจนซึ่งเป็นรากฐานของคัมภีร์ และบางโองการไม่ชัดเจน ผู้ที่มีใจเอนเอียงออกจากความจริง เขาจะตามโองการที่มีความคลุมเครือ เพื่อแสวงหาความขัดแย้งและแสวงหาการตีความ [ที่เป็นเท็จ] ในโองการนั้น และไม่มีใครรู้ความหมายของโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้รอบรู้ในความรู้กล่าวว่า เราศรัทธาในสิ่งนี้ ทั้งหมดนี้มาจากพระผู้อภิบาลของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น} [ซูเราะฮ์ อาลิอิมรอน: 7] อัลลอฮ์ ตะอาลา แจ้งว่าพระองค์เป็นผู้ทรงประทานอัลกุรอานลงมาแก่นบีของพระองค์ ซึ่งในอัลกุรอานนั้นมีโองการที่ชัดเจน มีข้อตัดสินที่เป็นที่รู้กันไม่มีข้อสงสัยใดๆ และเป็นรากฐานของคัมภีร์ เป็นที่อ้างอิงสำหรับสร้างความกระจ่างเมื่อเกิดความขัดแย้งกันในโองการอื่นๆ ที่คลุมเครืออีกด้วย และในทางกลับกัน มีบางโองการที่คลุมเครือและความหมายไม่ชัดเจนสำหรับบางคน หรือคิดว่ามีความย้อนแย้งระหว่างโองการอัลกุรอานดัวยกัน จากนั้นอัลลอฮ์ทรงชี้แจงถึงจุดยืนของมนุษย์ที่มีต่อโองการเหล่านี้ ดังนั้นผู้ที่มีใจเอนเอียงออกจากสัจธรรม พวกเขาปฏิบัติตามโองการที่คลุมเครือเพื่อชักนำผู้คนให้หลง พวกเขายังมุ่งหมายที่จะตีความมันแบบผิด ๆ ตามความปรารถนาที่เบี่ยงเบนของพวกเขา ส่วนบรรดาผู้ที่รอบรู้ในความรู้นั้น พวกเขาจะรู้ถึงความหมายของโองการนั้นดี พวกเขาจะตีความโดยนำโองการนั้นกลับไปยังโองการที่ชัดแจ้ง และพวกเขาศรัทธาต่อโองการนั้นว่ามันเป็นโองการจากอัลลอฮ์ และเป็นไปไม่ได้ที่โองการจะเกิดความคลุมเครือหรือย้อนแย้งกัน และไม่มีผู้ใดที่จะรับเป็นบทเรียนหรือข้อเตือนใจนอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาที่บริสุทธิ์เท่านั้น จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวแก่มารดาแห่งศรัทธาชนท่านหญิงอาอิชะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า : หากเจ้าเห็นบรรดาผู้ปฏิบัติตามโองการที่คลุมเครือ แท้จริงพวกเขาคือผู้ที่อัลลอฮ์ได้ทรงระบุในคำตรัสของพระองค์ {فأما الذين في قلوبهم زيغ}{ผู้ที่มีจิตใจเอนเอียง} ดังนั้น จงระวังพวกเขาให้ดี และอย่าเข้าใกล้พวกเขา

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย ภาษาทาจิก คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก الموري ภาษามาลากาซี ภาษาฟูลา ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา الولوف البلغارية ภาษาอาเซอร์ไบจาน اليونانية ภาษาอุซเบก ภาษายูเครน الجورجية اللينجالا المقدونية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. โองการชี้ขาดของอัลกุรอาน: คือโองการที่ชัดเจนด้านความเป็นหลักฐานและชัดเจนด้านความหมายที่ปรากฏ ส่วนโองการที่คลุมเครือ: คือโองการที่มีความหมายมากกว่าหนึ่ง และต้องอาศัยการพิจารณาและความเข้าใจ
  2. เตือนให้หลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับผู้ที่เบี่ยงเบนศาสนาและผู้ที่อุตริกรรมทางศาสนา และผู้ที่ยกประเด็นที่คลุมเครือขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้ผู้คนหลงทางจากความจริง
  3. ในตอนท้ายของโองการนี้ อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า: {وما يذكر إلا أولو الألباب}{และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น} เป็นการเปิดเผยคนที่เอนเอียงและเป็นการยกย่องผู้ที่มีความรอบรู้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือผู้ที่ไม่สำนึกและไม่รับการตักเตือน และปฏิบัติตามตัณหาของตนเอง ย่อมไม่เป็นผู้ที่มีสติปัญญา.
  4. การเชื่อฟังและทำตามความคลุมเครือเป็นเหตุทำให้หัวใจเอนเอียงจากความถูกต้อง
  5. จำเป็นต้องนำโองการที่คลุมเครือที่ไม่อาจเข้าใจถึงความหมายของมันด้วยการนำเข้ากับโองการชี้ขาดที่มีความหมายชัดเจน
  6. อัลลอฮ์ ตะอาลา ทำให้อัลกุรอานบางโองการมีความหมายที่ชัดเจนเด็ดขาดและบางโองการมีความหมายที่คลุมเครือ เพื่อเป็นการทดสอบให้เกิดการแยกแยะระหว่างผู้ศรัทธาออกจากผู้หลงผิด
  7. การที่โองการของอัลกุรอานมีความคลุมเครือนั้น เพื่อเป็นการแสดงความสำคัญของผู้ที่มีความรอบรู้นั้น พวกเขาเหนือผู้อื่น และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของสติปัญญา เพื่อสติปัญญานั้นจะได้ยอมจำนนต่อผู้สร้างของมันและยอมรับถึงความอ่อนแอของมัน
  8. ความประเสริฐของการรอบรู้ในวิชาความรู้ และความจำเป็นในการยืนหยัดกับมัน
  9. สำหรับนักอรรฐาธิบายอัลกุรอานในการหยุดอ่านตรง {الله} จากคำตรัสของพระองค์ที่ว่า: { وما يعلم تأويله إلا الله والراسخون في العلم } มีสองทัศนะด้วยกัน ดังนั้นผู้ใดหยุดที่ {الله} ดังนั้นความหมายการตีความคือความรู้ความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ และแก่นแท้ของมัน และสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ เช่น เรื่องของวิญญาณและวันกิยามะอ์ ซึ่งอัลลอฮ์เก็บไว้ในความรู้ของพระองค์เพียงผู้เดียว และบรรดาผู้ที่รอบรู้ในความรู้ พวกเขาศรัทธาในโองการเหล่านั้นและมอบข้อเท็จจริงของมันต่ออัลลอฮ์ ดังนั้นพวกเขาจึงมอบต่ออัลลอฮ์และพวกเขาจึงปลอดภัย และผู้ที่อ่านโดยไม่หยุดที่{الله} ดังนั้นความหมายของคำว่า {تأويله} (การตีความ) คือ การอธิบาย การเปิดเผยและการชี้แจง ดังนั้นความหมายของโองการก็คือ อัลลอฮ์ทรงรู้ถึงความหมายของมันและผู้ที่มีความรอบรู้ในความรู้ด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงเชื่อในสิ่งนี้และนำโองการนั้นให้เข้ากับโองการที่มีความหมายชัดเจน
ดูเพิ่มเติม