+ -

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ إِذَا صَلَّى فَرَّجَ بَيْنَ يَدَيْهِ حَتَّى يَبْدُوَ بَيَاضُ إِبْطَيْهِ.
[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากท่านอับดุลลอฮ์ บินมาลิก อิบนุบุหัยนะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า:
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เมื่อท่านละหมาด (ในตอนสุญูด) ท่านจะกางแขนทั้งสองของท่านออก จนความขาวที่วงแขนทั้งสองของท่านปรากฏ

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทำการสุญูด ท่านจะกางแขนทั้งสองของท่านในขณะที่สุญูด มือแต่ละข้างของท่านจะแยกออกจากกันเหมือนปีกสองข้าง จนกระทั่งเห็นสีผิวบริเวณรักแร้ของท่าน นี่เป็นการแสดงถึงความจริงจังในการกางแขนและแยกทั้งสองออกห่างจากร่างกาย

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา ภาษาคีร์กีซ ภาษาโยรูบา ภาษาดารี
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ซุนนะฮ์ส่งเสริมให้ทำการกระทำในลักษณะนั้นในการสุญูด กล่าวคือ กางแขนทั้งสองออกจากด้านข้างของร่างกาย
  2. ผู้เป็นมะอ์มูม(ผู้ที่ละหมาดตาม) ถ้าหากผู้อื่นที่ละหมาดด้วยกันได้รับผลกระทบจากการกางแขนของเขา ก็ไม่อนุญาตให้เขาทำเช่นนั้น
  3. การกางแขนออกด้านข้างของร่างกายในเวลาสุญูดนั้นมีวิทยปัญญาและมีประโยชน์มากมาย เช่น: เป็นการแสดงถึงความกระตือรือร้นและความปรารถนาที่เต็มเปี่ยมในการละหมาด และหากบุคคลหนึ่งได้ใช้ทุกส่วนของอวัยวะที่ต้องใช้ในการสุญูด ทำให้ทุกส่วนนั้นได้ใช้สัดส่วนของตนอย่างเหมาะสมในการสักการะ และบ้างก็กล่าวว่า: วิทยปัญญาในการกระทำนี้ เป็นการแสดงถึงที่การอ่อนน้อมถ่อมตนที่ดีที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำให้หน้าผากและจมูกแนบชิดกับพื้น และยังทำให้อวัยวะอื่นๆ สามารถทำหน้าที่ของตนได้ด้วยตัวมันเอง