+ -

عَنْ أَنَسٍ رضي الله عنه:
أَنَّ نَفَرًا مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سَأَلُوا أَزْوَاجَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ عَمَلِهِ فِي السِّرِّ؟ فَقَالَ بَعْضُهُمْ: لَا أَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، وَقَالَ بَعْضُهُمْ: لَا آكُلُ اللَّحْمَ، وَقَالَ بَعْضُهُمْ: لَا أَنَامُ عَلَى فِرَاشٍ، فَحَمِدَ اللهَ وَأَثْنَى عَلَيْهِ، فَقَالَ: «مَا بَالُ أَقْوَامٍ قَالُوا كَذَا وَكَذَا؟ لَكِنِّي أُصَلِّي وَأَنَامُ، وَأَصُومُ وَأُفْطِرُ، وَأَتَزَوَّجُ النِّسَاءَ، فَمَنْ رَغِبَ عَنْ سُنَّتِي فَلَيْسَ مِنِّي».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1401]
المزيــد ...

จากอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า:
มีกลุ่มหนึ่งจากบรรดาสหายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ถามภรรยาของท่านนบีเกี่ยวกับการปฎิบัติตนของท่านนบีในขณะที่ผู้คนภายนอกไม่ได้รู้เห็น (หลังจากพวกเขาทราบแล้ว) แล้วบางคนจากพวกเขากล่าวว่า: "ฉันจะไม่แต่งงานกับผู้หญิง" อีกคนหนึ่งกล่าวว่า: "ฉันจะไม่กินเนื้อสัตว์" และอีกคนหนึ่งกล่าวว่า: "ฉันจะไม่นอนบนที่นอน" เมื่อท่านนบีทราบเรื่อง ท่านได้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์และยกย่องพระองค์ จากนั้นจึงกล่าวว่า: "เกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มคนที่กล่าวว่าอย่างนั้นอย่างนี้? แต่สำหรับฉัน, ฉันละหมาดและฉันก็นอน, ฉันถือศีลอดและฉันก็ละศีลอด, และฉันแต่งงานกับผู้หญิง ดังนั้นผู้ใดที่ไม่พอใจกับสุนนะฮ์ของฉัน เขาก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากฉัน"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1401]

คำอธิบาย​

มีกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะหาบะฮ์ (รอดิยัลลอฮุ อันฮุม) เดินทางมายังบ้านของภรรยาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการทำอิบาดะฮ์ของท่านนบีในเรื่องส่วนตัวภายในบ้าน เมื่อพวกเขาได้รับคำตอบ พวกเขารู้สึกว่าการปฏิบัตินั้นดูเหมือนจะน้อยไป แล้วพวกเขากล่าวว่า:... แล้วพวกเราจะเปรียบเทียบกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้อย่างไร? เพราะท่านนั้นได้รับการอภัยโทษสำหรับบาปที่ผ่านมาของท่านและบาปที่ตามมาภายหลังแล้ว ต่างจากผู้ที่ไม่รู้ว่าเขาจะได้รับการอภัยโทษหรือไม่ จึงจำเป็นต้องเพิ่มความพยายามอย่างมากในการอิบาดะฮ์ เพื่อหวังว่าจะได้รับการอภัยโทษนั้น แล้วบางคนจากพวกเขาก็กล่าวว่า: ฉันจะไม่แต่งงานกับผู้หญิง อีกคนหนึ่งกล่าวว่า: ฉันจะไม่กินเนื้อสัตว์ และอีกคนกล่าวว่า: ฉันจะไม่นอนบนเตียง เมื่อเรื่องนี้ไปถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ท่านรู้สึกไม่พอใจ และได้กล่าวคุตบะฮ์แก่ผู้คน โดยท่านเริ่มต้นด้วยการสรรเสริญและยกย่องอัลลอฮ์ จากนั้นกล่าวว่า: "เกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มคนเหล่านี้ที่พูดอย่างนั้นอย่างนี้? ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ แท้จริงฉันเป็นผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์มากที่สุดในหมู่พวกเจ้า และเป็นผู้ที่สำรวมตนต่อพระองค์มากที่สุด แต่ฉันก็นอนเพื่อให้มีพละกำลังสำหรับการละหมาดกลางคืน ฉันละศีลอดเพื่อให้มีกำลังสำหรับการถือศีลอด และฉันแต่งงานกับผู้หญิง ดังนั้นผู้ใดที่ปฏิเสธวิถีทางของฉัน และมองว่าความสมบูรณ์อยู่ในสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้ และปฏิบัติตามแนวทางของผู้อื่น เขาก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากฉัน"

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความรักของบรรดาเศาะหาบะฮ์ (รอดิยัลลอฮุ อันฮุม) ต่อความดีงาม และความปรารถนาของพวกเขาที่จะทำความดี รวมถึงการเจริญรอยตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม.
  2. ความเรียบง่ายและความง่ายดายของบทบัญญัตินี้ ซึ่งนำมาจากแบบอย่างและการปฏิบัติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
  3. ความดีงามและความจำเริญอยู่ที่การปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และปฏิบัติตามบริบทของท่านอันทรงเกียรติ
  4. ห้ามมิให้ตนเองเคร่งเครียดในการทำอิบาดะฮ์มากเกินกว่าที่ตนเองจะทนได้ และนี่คือกรณีของผู้ที่ทำอุตริกรรมในศาสนา
  5. อิบนุฮะญัรกล่าวว่า: การยึดมั่นในความเข้มงวดเกินไปในการทำอิบาดะฮฺ (การปฏิบัติศาสนกิจ) นำไปสู่ความเหนื่อยหน่าย ซึ่งอาจตัดขาดจากรากฐานของการอิบาดะฮฺโดยสิ้นเชิง และการยึดติดกับการปฏิบัติแต่เพียงข้อบังคับ และการละทิ้งสุนนะฮฺ (การปฏิบัติเสริม) อาจนำไปสู่ความเกียจคร้านและไม่กระตือรือร้นในการทำอิบาดะฮฺ และทางที่ดีที่สุดคือทางสายกลางในทุกสิ่ง.
  6. ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงการติดตามศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใหญ่ (อัลอะกาบิร) เพื่อเอาการกระทำของพวกเขา เป็นแบบอย่างและเมื่อไม่สามารถรับรู้สิ่งเหล่านี้จากบุรุษได้ ก็อนุญาตให้ค้นหาความรู้นั้นจากสตรีได้.
  7. ในหะดีษนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตักเตือน การสอนประเด็นปัญหาทางวิชาความรู้ และการอธิบายบทบัญญัติแก่ผู้ที่มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ (มุกัลลัฟ) รวมถึงการขจัดความคลุมเครือหรือข้อสงสัยให้แก่ผู้ที่ใช้ความพยายามในการศึกษาหาความรู้ (มุจตะฮิด).
  8. คำสั่งให้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความนุ่มนวลและความพอเหมาะพอควร พร้อมทั้งรักษาการปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (ฟะรออิฎ) และการปฏิบัติเสริม (นะวาฟิ้ล) เพื่อให้มุสลิมคำนึงถึงสิทธิของเขาที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น
  9. ในหะดีษนี้ชี้ให้เห็นถึงความประเสริฐของการแต่งงานและการสนับสนุนให้แต่งงาน
ดูเพิ่มเติม