+ -

عَنْ عَلِيٍّ رضي الله عنه:
أَنَّ فَاطِمَةَ رَضيَ اللهُ عنْها أَتَتِ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ تَشْكُو إِلَيْهِ مَا تَلْقَى فِي يَدِهَا مِنَ الرَّحَى، وَبَلَغَهَا أَنَّهُ جَاءَهُ رَقِيقٌ، فَلَمْ تُصَادِفْهُ، فَذَكَرَتْ ذَلِكَ لِعَائِشَةَ، فَلَمَّا جَاءَ أَخْبَرَتْهُ عَائِشَةُ، قَالَ: فَجَاءَنَا وَقَدْ أَخَذْنَا مَضَاجِعَنَا، فَذَهَبْنَا نَقُومُ، فَقَالَ: «عَلَى مَكَانِكُمَا» فَجَاءَ فَقَعَدَ بَيْنِي وَبَيْنَهَا، حَتَّى وَجَدْتُ بَرْدَ قَدَمَيْهِ عَلَى بَطْنِي، فَقَالَ: «أَلاَ أَدُلُّكُمَا عَلَى خَيْرٍ مِمَّا سَأَلْتُمَا؟ إِذَا أَخَذْتُمَا مَضَاجِعَكُمَا -أَوْ أَوَيْتُمَا إِلَى فِرَاشِكُمَا- فَسَبِّحَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، وَاحْمَدَا ثَلاَثًا وَثَلاَثِينَ، وَكَبِّرَا أَرْبَعًا وَثَلاَثِينَ، فَهُوَ خَيْرٌ لَكُمَا مِنْ خَادِمٍ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 5361]
المزيــد ...

จากอาลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า:
ว่าท่านหญิงฟาติมะห์ รอฏิยัลลอฮุ อันฮา ได้มาพบท่านนบี ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เพื่อร้องทุกข์เกี่ยวกับความเหนื่อยยากจากการใช้มือบดแป้ง และเธอได้ยินมาว่ามีทาสมาถึงท่านนบี แต่เธอไม่พบท่าน ฟาติมะห์จึงเล่าเรื่องนี้ให้ท่านหญิงอาอิชะห์ฟัง เมื่อท่านนบีกลับมา ท่านหญิงอาอิชะห์ก็เล่าเรื่องนี้ให้ท่านนบีฟัง ท่านนบีจึงมาหาพวกเรา ขณะที่พวกเรากำลังเตรียมตัวนอนอยู่ เมื่อพวกเราพยายามจะลุกขึ้น ท่านนบีได้กล่าวว่า "ให้อยู่ที่เดิม" จากนั้นท่านก็เข้ามานั่งระหว่างฉันกับนาง จนฉันรู้สึกถึงความเย็นจากเท้าของท่านที่สัมผัสกับท้องของฉัน แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า "พวกเธออยากให้ฉันบอกสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่พวกเธอขอไหม? เมื่อพวกเธอเข้านอนหรือไปที่ที่นอนของพวกเธอ ให้พวกเธอกล่าว"ซุบหานัลลอฮ์ (มหาบริสุทธิ์จงมีแด่พระเจ้า)" สามสิบสามครั้ง "อัลฮำดุลิลลาฮ์ (สรรเสริญอัลลอฮ์) " สามสิบสามครั้ง และ "อัลลอฮุอักบัร" สามสิบสี่ครั้ง เพราะสิ่งนี้ดีกว่าคนรับใช้สำหรับพวกเธอทั้งสอง

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 5361]

คำอธิบาย​

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา บุตรสาวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ร้องทุกข์เกี่ยวกับความเหนื่อยยากจากการใช้มือบดแป้ง ซึ่งทำให้เกิดร่องรอยที่มือของเธอ เมื่อมีเชลยศึกถูกนำมาหาท่านนบี เธอจึงไปหาท่านนบีเพื่อขอทาสสักคนหนึ่งมาช่วยทำงานบ้านแทนเธอ แต่เมื่อไปถึง เธอไม่พบท่านนบีอยู่ที่บ้าน เธอจึงพบกับท่านหญิงอาอิชะห์ รอฏิยัลลอฮุ อันฮา และได้บอกเรื่องนี้แก่นาง เมื่อท่านนบี ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กลับมา ท่านหญิงอาอิชะห์ รอฏิยัลลอฮุ อันฮา ได้บอกท่านเกี่ยวกับการมาของท่านหญิงฟาติมะห์ที่มาหาท่าน เพื่อขอคนรับใช้สักคนหนึ่งมาช่วยทำงานบ้าน ท่านนบี ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ไปหาท่านหญิงฟาติมะห์และท่านอะลี รอฏิยัลลอฮุ อันฮุมา ที่บ้านของพวกเขา ขณะที่พวกเขากำลังอยู่บนที่นอนและเตรียมตัวจะนอน ท่านนบีได้นั่งลงระหว่างพวกเขา จนท่านอะลี รอฏิยัลลอฮุ อันฮุ รู้สึกถึงความเย็นจากเท้าของท่านนบีที่สัมผัสกับท้องของเขา แล้วท่านนบีจึงกล่าวว่า: พวกเจ้าทั้งสองไม่อยากให้ฉันบอกสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่พวกเจ้าขอเรื่องการให้คนรับใช้หรือ? พวกเขากล่าวว่า “เอาซิ" และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า เมื่อตอนเข้านอนตอนกลางคืน ให้กล่าวสดุดีอัลลอฮ์ สามสิบสี่ครั้ง โดยกล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” และถวายเกียรติแด่พระองค์สามสิบสามครั้ง โดยกล่าวว่า: ซุบฮานัลลอฮ์ (มหาบริสุทธิ์จงมีแด่พระเจ้า) และขอบคุณพระเจ้าสามสิบสามครั้ง โดยกล่าวว่า: อัลฮัมดุลิลลาฮ์ (ขอสรรเสริญพระเจ้า) บทดุอาอ์ซิกร์เหล่านี้ดีกว่าสำหรับพวกเจ้ามากกว่าคนรับใช้

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาเนปาล
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การส่งเสริมให้รักษาการกล่าวซิกรุ (การรำลึกถึงอัลลอฮ์) ที่มีความจำเริญนี้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีรายงานว่าท่านอะลี รอฏิยัลลอฮุ อันฮุ ไม่เคยละเลยในคำแนะนำของท่านนบี ซอลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม นี้เลย แม้แต่ในคืนสงครามศิฟฟีน
  2. บทซิกร์นี้จะกล่าวเฉพาะในช่วงกลางคืนเท่านั้น และถ้อยคำของมันตามรายงานของอิม่ามมุสลิมนั้นมาจากสายรายงานของมูอาซ จากรายงานของชุอบะฮ์ ว่า: “เมื่อเจ้าจะเข้านอนในตอนกลางคืน”
  3. หากมุสลิมลืมซิกร์นี้ในตอนต้นของกลางคืน แล้วนึกขึ้นได้ในช่วงท้ายของคืน ก็ไม่เสียหายที่จะกล่าวมันในตอนนั้น เพราะท่านอาลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ผู้รายงานฮะดีษบอกว่าเขาลืมกล่าวในคืนสงครามซิฟฟินตอนต้นคืน แล้วเขาก็จำได้และได้กล่าวก่อนรุ่งสาง
  4. อัล-มุฮัลลาบ กล่าวว่าในหะดีษนี้ส่งเสริมให้ผู้คนชักชวนครอบครัวให้ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับที่เขาปฏิบัติตนเอง โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับชีวิตหลังความตายมากกว่าชีวิตในโลกนี้ ถ้าหากว่าพวกเขามีความสามารถในการทำเช่นนั้น
  5. อิบนุ หะญัร อัล-อัสกอลานีย์ กล่าวว่า: ผู้ที่ทำซิกร์นี้อย่างสม่ำเสมอจะไม่รู้สึกเจ็บปวดจากการทำงานหนักหรือรู้สึกลำบาก แม้ว่าเขาจะรู้สึกเหนื่อยก็ตาม
  6. อัล-อัยนีย์ กล่าวว่า ความประเสร็ฐนี้อาจหมายถึงว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหลังความตายจะมีคุณค่าเหนือกว่าคนรับใช้ในโลกนี้ โดยที่ชีวิตหลังความตายนั้นดีกว่าและคงอยู่ยาวนานกว่า หรืออาจหมายถึงการที่การกล่าวซิกรุ (การรำลึกถึงอัลลอฮ์) จะทำให้พวกเขาได้รับพลังหรือความสามารถในการทำงานที่มากกว่าที่ทาสจะสามารถทำได้
ดูเพิ่มเติม