+ -

عَنْ أُمِّ عَطِيَّةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا قَالَتْ:
نُهِينَا عَنِ اتِّبَاعِ الجَنَائِزِ، وَلَمْ يُعْزَمْ عَلَيْنَا.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 1278]
المزيــد ...

จากอุมมิ อะฏียะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า:
เราได้รับการห้ามไม่ให้ตามขบวนญะนาอิซ (ศพ) แต่ไม่ได้มีการกำชับ (ห้ามอย่างเด็ดขาด) แก่เรา

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 1278]

คำอธิบาย​

อุมมุอะฏิยะฮฺ อัลอันศอรียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามไม่ให้ผู้หญิงเดินตามขบวนญะนาอิซ (ศพ) ทั้งนี้เพราะเกรงว่าจะเกิดฟิตนะฮฺ (ความปั่นป่วน) แก่พวกนางหรือด้วยพวกนาง และเนื่องจากความอดทนของพวกนางมีน้อย จากนั้น นางก็กล่าวเพิ่มเติมว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้เน้นย้ำในเรื่องการห้ามนี้เหมือนกับที่ท่านเน้นย้ำในการห้ามเรื่องอื่น ๆ

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การห้ามผู้หญิงไม่ให้ตามขบวนญะนาอิซ (ศพ) เป็นการห้ามที่ครอบคลุม ทั้งในการตามไปยังสถานที่ที่มีการจัดเตรียมศพและละหมาดให้ และการตามไปจนถึงสุสานที่ใช้ฝังศพ
  2. เหตุผลในการห้ามคือผู้หญิงไม่สามารถทนต่อสถานการณ์แห่งความเศร้า บางคนอาจแสดงความไม่พอใจ และเกิดความวิตกกังวลซึ่งเป็นที่ขัดแย้งกับความอดทนที่ควรจะมี
  3. โดยหลักการแล้ว การห้ามในศาสนาอิสลาม หมายถึง การต้องห้าม (หะรอม) แต่ทว่า อุมมุอะฏิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เข้าใจจากบริบทของสถานการณ์ว่า การห้ามผู้หญิงไม่ให้ตามขบวนญะนาอิซนั้น มิได้เป็นการห้ามที่เด็ดขาดหรือจริงจังนัก อย่างไรก็ตาม ได้มีหะดีษอื่น ๆ ที่แสดงถึงความรุนแรง (การย้ำเตือนอย่างเข้มงวด) ในเรื่องการตามขบวนศพมากกว่าหะดีษบทนี้
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี الجورجية
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม