+ -

«دَعُونِي مَا تَرَكْتُكُمْ، إِنَّمَا هَلَكَ مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ بِسُؤَالِهِمْ وَاخْتِلَافِهِمْ عَلَى أَنْبِيَائِهِمْ*، فَإِذَا نَهَيْتُكُمْ عَنْ شَيْءٍ فَاجْتَنِبُوهُ، وَإِذَا أَمَرْتُكُمْ بِأَمْرٍ فَأْتُوا مِنْهُ مَا اسْتَطَعْتُمْ».
[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"จงปล่อยฉันกับสิ่งที่ฉันทิ้งไว้ให้แก่พวกเจ้า! แท้จริงแล้ว ผู้คนที่มาก่อนพวกเจ้าได้ประสบกับความหายนะเนื่องจากคำถามและการโต้เถียงกับศาสนทูตของพวกเขา ดังนั้น ถ้าฉันห้ามบางสิ่งบางอย่าง ก็จงออกห่างจากสิ่งนั้นไป! และถ้าฉันสั่งบางสิ่งบางอย่าง ก็จงทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้!"

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวถึงศาสนบัญญัตินั้น แบ่งออกเป็นสามประเภท: สิ่งที่ศาสนาไม่ได้ระบุข้อตัดสินไว้ สิ่งที่ศาสนาห้าม และสิ่งที่ศาสนาสั่งใช้
ประเภทที่หนึ่ง: คือสิ่งที่ศาสนาเงียบเกี่ยวกับมัน ไม่มีหุก่ม(ข้อบังคับใช้)ใด ๆ เกี่ยวกับมัน และหลักการพื้นฐานทางหุก่มที่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ นั้น คือ สิ่งเหล่านี้ไม่วาญิบ ส่วนในยุคของท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จำเป็นต้องละเว้นจากการถามถึงสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะกลัวว่าจะมีการประทานหุก่มลงมาเป็นวาญิบหรือเป็นหะรอมเพราะการถามเป็นต้นเหตุ ดังนั้นการที่อัลลอฮ์ไม่กล่าวถึงหุก่มของมันเพื่อแสดงถึงความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อบ่าว แต่หลังจากการเสียชีวิตของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไปแล้ว หากคำถามอยู่ในรูปแบบของการขอฟัตวาหรือสอนในสิ่งที่จำเป็นสำหรับเขาในเรื่องศาสนาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตและถือเป็นสิ่งที่ศาสนาสั่งใช้ และหากคำถามอยู่ในรูปแบบของความคลั่งไคล้และความเลยเถิดก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องละเว้นดังเนื้อหาของหะดีษนี้ ทั้งนี้เพราะมันอาจนำไปสู่เหตุการณ์สิ่งที่เคยเกิดกับวงค์วานอิสราเอล เมื่อพวกเขาได้รับคำสั่งให้เชือดวัว โดยหากพวกเขาเชือดวัวตัวใดตัวหนึ่งแล้ว พวกเขาก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่พวกเขาทำให้เกิดความลำบาก ดังนั้นความลำบากนั้นจึงเกิดขึ้นกับพวกเขา
ประการที่สอง: สิ่งที่ต้องห้าม คือสิ่งที่ได้ผลบุญสำหรับผู้ที่ละทิ้งมัน และจะได้รับการลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำมัน ดังนั้นจำเป็นต้องออกห่างจากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด
ประการที่สาม: สิ่งที่ถูกใช้ให้กระทำ คือสิ่งที่ได้ผลบุญสำหรับผู้ที่กระทำมัน และได้รับการลงโทษสำหรับผู้ที่ละทิ้งมัน ดังนั้นจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนั้นเท่าที่มีความสามารถ

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส السويدية الأمهرية القيرقيزية اليوروبا الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. เราควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุด ละทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และไม่ควรไปยุ่งกับการถามถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
  2. ไม่อนุญาตถามคำถามที่อาจทำให้เกิดความซับซ้อน และเป็นการเปิดประตูสู่ความคลุมเครือที่นำไปสู่ความขัดแย้งที่มากมาย
  3. สั่งให้ละทิ้งสิ่งต้องห้ามทั้งหมด เพราะมันไม่มีความลำบากใดๆ ในการละทิ้ง ด้วยเหตุนี้ การสั่งห้ามเป็นไปในลักษณะทั่วไป
  4. คำสั่งให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกสั่งใช้นั้นให้ทำเท่าที่มีความสามารถ เนื่องจากในบางครั้งอาจประสบกับความอยากลำบากหรืออ่อนแอไม่สามารถดำเนินการได้ ด้วยเหตุนี้คำสั่งใช้จึงผูกเงื่อนไขกับความสามารถ
  5. ห้ามมิให้ถามมากจนเกินไป บรรดานักวิชาการได้แบ่งการถามออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือการถามเพื่อการศึกษาสิ่งที่ต้องการจากเรื่องราวของศาสนา ซึ่งการถามประเภทนี้เป็นสิ่งที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติ และการถามของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ก็อยู่ในคำถามประเภทนี้ ประเภทที่สอง การถามเพื่อทำให้เกิดความยุ่งยากและความซับซ้อน ซึ่งประเภทนี้เป็นสิ่งที่ถูกห้ามมิให้กระทำ
  6. เตือนประชาชาตินี้ไม่ให้ขัดแย้งกับนบีของพวกเขา ดั่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วกับประชาชาติก่อนหน้า
  7. การถามที่มากเกินไปในสิ่งที่ไม่จำเป็น และการขัดแย้งกับบรรดาศาสนทูตนั้นเป็นสาเหตุแห่งความหายนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งเร้นลับซึ่งอัลลอฮ์เท่านั้นที่รู้ และเรื่องราวเกี่ยวกับวันกิยามะฮ์
  8. ห้ามถามคำถามในเรื่องที่ยาก ท่านอัลเอาซาอีย์ กล่าวว่า: หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดความจำเริญของความรู้ออกไปจากบ่าวของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงโยนความเข้าใจที่ผิดๆ เกิดขึ้นกับลิ้นของเขา และฉันเห็นว่าพวกเขาเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้น้อย ท่านอิบนุวะฮับ กล่าวว่า: ฉันได้ยินท่านมาลิกกล่าวว่า: การโต้เถียงในความรู้นั้น จะขจัดแสงสว่างแห่งความรู้ไปจากหัวใจของมนุษย์
ดูเพิ่มเติม