عن أبي هريرة رضي الله عنه
عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فِيمَا يَحْكِي عَنْ رَبِّهِ عَزَّ وَجَلَّ، قَالَ: «أَذْنَبَ عَبْدٌ ذَنْبًا، فَقَالَ: اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ، ثُمَّ عَادَ فَأَذْنَبَ، فَقَالَ: أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: عَبْدِي أَذْنَبَ ذَنْبًا، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ، ثُمَّ عَادَ فَأَذْنَبَ، فَقَالَ: أَيْ رَبِّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي، فَقَالَ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: أَذْنَبَ عَبْدِي ذَنْبًا، فَعَلِمَ أَنَّ لَهُ رَبًّا يَغْفِرُ الذَّنْبَ، وَيَأْخُذُ بِالذَّنْبِ، اعْمَلْ مَا شِئْتَ فَقَدْ غَفَرْتُ لَكَ».

[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากอบูฮุรัยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตามที่ท่านรายงานจากอัลลอฮ์ ตะอาลา ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า "c2">“เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ทำบาปอย่างหนึ่ง แล้วเขากล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์โปรดอภัยโทษต่อความผิดของฉันด้วยเถิด อัลลอฮ์ ตะบารอกะวะตะอาลา ก็ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปอย่างหนึ่ง และเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษให้หรือจะเอาโทษ แล้วเขาก็กลับไปทำบาปอีก แล้วกล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลของฉันโปรดอภัยโทษต่อความผิดของฉันด้วยเถิด อัลลอฮ์ ตะบารอกะวะตะอาลา ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปอย่างหนึ่งและเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษให้หรือจะเอาโทษ หลังจากนั้น เขาก็กลับไปทำบาปอีก แล้วกล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลของฉันโปรดอภัยโทษต่อความผิดของฉันด้วยเถิด อัลลอฮ์ ตะบารอกะวะตะอาลา ตรัสว่า บ่าวของฉันทำบาปอย่างหนึ่งและเขารู้ว่าเขามีพระเจ้าที่จะอภัยโทษให้หรือจะเอาโทษ เจ้าจงทำในสิ่งที่เจ้าต้องการ ข้าก็จะอภัยโทษให้แก่เจ้า”

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รายงานจากพระผู้อภิบาลของท่านว่า แท้จริง หากบ่าวของพระองค์ทำบาปแล้วกล่าวว่า: ข้าแต่อัลลอฮ์ โปรดอภัยโทษต่อบาปของข้าด้วยเถิด อัลลอฮ์ ตะอาลา ก็ตรัสว่า: บ่าวของข้าได้ทำบาป และเขารู้ว่า เขามีพระเจ้าที่จะทรงให้อภัยโทษบาปนั้น แล้วทรงปกปิดมันไว้ และทรงมองข้ามมันไป หรือจะทรงลงโทษเพราะบาปนั้น แท้จริงข้าได้อภัยโทษให้เขาแล้ว จากนั้นบ่าวคนนั้นก็ได้ทำบาปอีกครั้ง และกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้า ขอพระองค์โปรดอภัยโทษบาปของข้าด้วยเถิด อัลลอฮ์ ก็ตรัสว่า : บ่าวของข้าได้ทำบาป และเขารู้ว่า เขามีพระเจ้าที่จะทรงให้อภัยโทษบาปนั้น แล้วทรงปกปิดมันไว้ และทรงมองข้ามมันไป หรือจะทรงลงโทษเพราะบาปนั้น แท้จริงข้าได้อภัยโทษให้เขาแล้ว หลังจากนั้นบ่าวคนนั้นก็ได้ทำบาปอีกครั้ง และกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้า ขอพระองค์โปรดอภัยโทษบาปของข้าด้วยเถิด อัลลอฮ์ ก็ตรัสว่า : บ่าวของข้าได้ทำบาป และเขารู้ว่า เขามีพระเจ้าที่จะทรงให้อภัยโทษบาปนั้น แล้วทรงปกปิดมันไว้ และทรงมองข้ามมันไป หรือจะทรงลงโทษเพราะบาปนั้น แท้จริงข้าได้อภัยโทษให้เขาแล้ว ดังนั้นเขาจงกระทำตามที่เขาต้องการเถิดตราบใดที่เขากระทำบาป แล้วเขาก็ละทิ้งบาปนั้น เสียใจกับมัน และตั้งใจที่จะไม่กลับไปกระทำบาปซ้ำอีก แต่จิตของเขากลับเอาชนะตัวเขา เลยเขาต้องตกสู่การกระทำบาปอีกครั้ง ตราบใดที่เขากระทำบาปและกลับใจ ข้าก็จะให้อภัยแก่เขา เพราะการกลับใจนั้นจะลบล้างบาปต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นก่อนหน้านั้น

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อบ่าวของพระองค์อย่างล้นเหลือ เพราะไม่ว่าบ่าวจะทำบาปอะไร และไม่ว่าเขาจะทำอะไร เมื่อเขากลับใจและหันกลับมาหาพระองค์ อัลลอฮ์ก็จะทรงตอบรับการกลับมาหาของเขา
  2. ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะหวังการอภัยโทษของพระผู้อภิบาลของเขา และกลัวการลงโทษของพระองค์ ดังนั้นเขาจึงรีบกลับใจและไม่ฝ่าฝืนอีกต่อไป
  3. เงื่อนไขของการกลับใจที่ถูกต้องคือ: เลิกกระทำบาป รู้สึกเสียใจ และตั้งใจที่จะไม่กลับไปกระทำบาปซ้ำอีก และหากการกลับใจเกิดจากการอธรรมต่อบ่าวด้วยกันในเรื่องทรัพย์สิน เกียรติยศ หรือชีวิต ก็จะมีเงื่อนไขเพิ่มอีกข้อหนึ่งเป็นข้อที่สี่ ซึ่งก็คือ: ขออภัยจากเจ้าของสิทธิ์ หรือคืนสิทธิ์แก่เจ้าของ
  4. ความสำคัญของความรู้ที่เกี่ยวกับอัลลอฮ์ที่จะทำให้บ่าวรู้เรื่องศาสนาของตน ซึ่งทำให้เขาสำนึกผิดทุกครั้งที่กระทำผิด ดังนั้น เขาอย่าได้สิ้นหวังและไม่ยืดเยื้อกระทำบาปอีกต่อไป
ดูเพิ่มเติม