+ -

عَنْ أَبي مَسْعُودٍ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلاَمِ النُّبُوَّةِ الأُولَى: إِذَا لَمْ تَسْتَحْيِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ».

[صحيح] - [رواه البخاري] - [صحيح البخاري: 6120]
المزيــد ...

จากท่านอบูมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"แท้จริงส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ได้รับรู้จากคำพูดของบรรดาศาสนทูตก่อนๆ คือ หากเจ้าไม่มีความละอายแล้ว ก็จงทำตามสิ่งที่เจ้าประสงค์เถิด"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 6120]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกเราว่าหนึ่งในคำสั่งเสียที่บรรดานบีก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ และผู้คนได้เผยแพร่กันระหว่างกัน และสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงรุ่นแรกของประชาชาตินี้ คือ การพิจารณาสิ่งที่เราต้องการจะทำ หากสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าอายก็จงทำมัน แต่หากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าอายก็จงละเว้น เพราะการยับยั้งไม่ให้กระทำสิ่งที่น่าเกลียดคือนิสัยของความละอาย ผู้ที่ไม่มีความละอายจะถลำตัวเข้าสู่ความชั่วร้ายและสิ่งที่ถูกตำหนิทุกประการ.

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความละอายเป็นรากฐานของคุณธรรมอันสูงส่ง.
  2. ความละอายเป็นคุณลักษณะหนึ่งของบรรดานบี (ศาสดา) ทั้งหลาย และเป็นสิ่งที่ได้รับการสืบทอดจากพวกเขา
  3. ความละอายคือสิ่งที่ทำให้มุสลิมทำสิ่งที่สวยงามและมีคุณค่า และละเว้นสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียและน่าอับอาย
  4. อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: คำสั่งในนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งมุบาฮ์ (มีสิทธิ์เสรีในการปฏิบัติ) หมายความว่า หากคุณต้องการทำอะไรสักอย่าง หากเป็นสิ่งที่คุณทำแล้วไม่เกิดความละอายใจจากอัลลอฮ์หรือจากผู้คน ก็จงทำ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็อย่าทำ และนี่คือ แนวทางของศาสนาอิสลาม กล่าวคือคำสั่งใช้ในศาสนานั้นมีทั้งเป็นข้อบังคับและส่งเสริมให้ปฏิบัติ โดยจะเกิดความละเอียดเมื่อละทิ้งมัน ส่วนคำสั่งห้ามในศาสนานั้นมีทั้งฮะรอม(ห้ามเด็ดขาด)และมักรูฮ์(ทรงเสริมให้ละทิ้ง) ก็จะเกิดความละอายเมื่อปฏิบัติ ส่วนอัลมุบาฮ์(สิ่งที่ศาสนาให้สิทธิ์เสรีในการปฏิบัติ) ความละอายที่เกิดจากการปฏิบัติก็มีโอกาศเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับการละทิ้ง ฉะนั้นหะดีษข้างต้นมีเนื้อหาครอบคลุมหุกุมทั้ง 5 ประการ, มีการกล่าวกันว่า : คำสั่งในหะดีษคือการห้าม นั้นหมายถึง เมื่อใดที่เจ้าไร้ยางอายก็จงทำในสิ่งที่เจ้าปรารถนาเถิด เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮ์จะทรงตอนแทนเจ้าเอง , บ้างก็กล่าวว่า : มันคือคำสั่งที่มีความหมายถึงการแจ้งให้ทราบ กล่าวคือ : ผู้ใดที่ไม่มีความอายเขาก็จะทำในสิ่งที่เขาต้องการ
ดูเพิ่มเติม