عن أبي هريرة، قال: أتَى النبي صلى الله عليه وسلم رجُلٌ أعْمَى، فقال: يا رسول الله، إنه ليس لي قائد يَقُودُني إلى المسجد، فَسَأل رسول الله صلى الله عليه وسلم أن يُرَخِّص له فيصلِّي في بَيْتِه، فرَخَّص له، فلمَّا ولىَّ دَعَاه، فقال: «هل تسمع النِّداء بالصلاة؟» قال: نعم، قال: «فأجِب».
[صحيح] - [رواه مسلم]
المزيــد ...

รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า มีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วบอกกับท่านว่า “โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮฺเอ๋ย ฉันไม่มีใครนำพาฉันไปมัสยิด เขาจึงขออนุญาตให้ยกเว้นเขาไม่ต้องไปละหมาดที่มัสยิด แล้วก็ละหมาดที่บ้านของเขาแทน ท่านเราะซูลก็อนุญาตให้เขาไม่ต้องมาละหมาดที่มัสยิด เมื่อเขาหันหลังเดินกลับ ท่านเราะซูลก็เรียกเขาและถามเขาว่า “ได้ยินเสียงอะซานไหม?(เมื่อเขาอยู่บ้าน) เขาตอบว่า ได้ยิน ท่านเราะซูลจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็จงตอบรับการเรียกร้องเถิด
เศาะฮีห์ - 0

คำอธิบาย​

ชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วบอกกับท่านว่า โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮฺเอ๋ย ฉันเป็นคนตาบอด ฉันไม่มีใครคอยช่วยฉันและจูงมือฉันไปมัสยิด เพื่อละหมาด 5 เวลา เขาต้องการที่จะให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ผ่อนปรนให้แก่เขาเรื่องการทิ้งการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด ท่านนบีจึงอนุโลมให้แก่เขา และเมื่อเขาหันหลังเดินกลับ ท่านนบีได้เรียกเขาแล้วบอกว่า “ท่านได้ยินเสียงอาซานไหม” เขาตอบว่า ได้ยิน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงตอบรับคำเชิญของผู้เรียกร้องไปสู่การละหมาดเถิด (ท่านก็จงไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดเถิด)

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ญี่ปุ่น
ดูการแปล

ประโยชน์​ที่ได้รับ

  1. การละหมาดญะมาอะฮฺนั้นเป็นวาญิบ (ที่จำเป็น) และแท้จริงข้อผ่อนปรนนั้นจะไม่เกิดขึ้น ยกเว้นมาจากสิ่งที่จำเป็นและเป็นวาญิบ และสำนวนของท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า “أجب” แปลว่า จงตอบรับเถิด ซึ่งเป็นคำสั่ง และรากเดิมของคำสั่งนั้น ก็คือวาญิบ
  2. คนตาบอดจำเป็นต้องไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด แม้ว่าไม่มีใครนำพาเขาไปมัสยิดก็ตาม
  3. อบรมฝึกฝนให้มุฟตี (ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา) ทิ้งการฟัตวา (ให้คำตอบ) แบบเร่งรีบ และควรที่จะสอบถามสภาพของผู้ถามก่อนที่จะออกคำฟัตวา
ดูเพิ่มเติม