+ -

عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ رضي الله عنهما أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«مَنْ أَكَلَ ثُومًا أَوْ بَصَلًا، فَلْيَعْتَزِلْنَا -أَوْ قَالَ: فَلْيَعْتَزِلْ- مَسْجِدَنَا، وَلْيَقْعُدْ فِي بَيْتِهِ»، وَأَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أُتِيَ بِقِدْرٍ فِيهِ خَضِرَاتٌ مِنْ بُقُولٍ، فَوَجَدَ لَهَا رِيحًا، فَسَأَلَ فَأُخْبِرَ بِمَا فِيهَا مِنَ البُقُولِ، فَقَالَ قَرِّبُوهَا إِلَى بَعْضِ أَصْحَابِهِ كَانَ مَعَهُ، فَلَمَّا رَآهُ كَرِهَ أَكْلَهَا، قَالَ: «كُلْ فَإِنِّي أُنَاجِي مَنْ لاَ تُنَاجِي». ولِمُسْلِمٍ عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ، عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: «مَنْ أَكَلَ مِنْ هَذِهِ الْبَقْلَةِ، الثُّومِ - وقَالَ مَرَّةً: مَنْ أَكَلَ الْبَصَلَ وَالثُّومَ وَالْكُرَّاثَ فَلَا يَقْرَبَنَّ مَسْجِدَنَا، فَإِنَّ الْمَلَائِكَةَ تَتَأَذَّى مِمَّا يَتَأَذَّى مِنْهُ بَنُو آدَمَ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 855]
المزيــد ...

จากญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“ผู้ใดที่กินกระเทียมหรือหัวหอม ก็ให้เขาแยกตัวออกไป - หรือท่านกล่าวว่า: ให้เขาแยกตัวออกไป - จากมัสยิดของเราและอยู่บ้าน” และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้รับหม้อซึ่งในนั้นบรรจุผักต่างๆ ที่มีกลิ่น และท่านได้รับกลิ่นเหม็น จึงถามถึงสิ่งนั้น และได้บอกถึงผักต่างๆ ที่มีกลิ่นที่อยู่ในนั้น แล้วท่านกล่าวว่า "จงเอาสิ่งนี้ไปมอบให้กับบรรดามิตรสหายของท่านที่มาพร้อมกับท่าน และเมื่อเขาเห็นท่านนบีจึงรังเกียดที่จะกินมัน ท่านนบีเลยกล่าวว่า : “กินสิ เพราะฉันจะสื่อสารกับคนที่เจ้าไม่สื่อสารด้วย”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 855]

คำอธิบาย​

ท่านนบีมุฮัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามผู้ที่รับประทานกระเทียม หรือหอมไม่ให้มาที่มัสยิด เพื่อไม่ให้รบกวนพี่น้องที่มาร่วมละหมาดด้วยกลิ่นของมัน ซึ่งเป็นการห้ามที่เป็นการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการมาที่มัสจิด ไม่ใช่การห้ามการรับประทานอาหารเหล่านั้น เนื่องจากอาหารทั้งสองประเภทนี้เป็นสิ่งที่อนุญาต ท่านนบีได้รับการเสิร์ฟอาหารที่มีผักอยู่ในหม้อ เมื่อท่านได้กลิ่นและได้รับการบอกกล่าวว่าในนั้นมีผัก ท่านจึงงดรับประทานและให้บางคนในบรรดาสหายของท่านรับประทานแทน บรรดาสหายก็รังเกียดที่จะรับประทานมันเพื่อตามแบบอย่างท่านนบี เมื่อท่านนบีเห็นสภาพเช่นนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “จงกินเถิด เพราะฉันได้สนทนากับมลาอิกะห์ด้วยวะฮี"
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่ามลาอิกะฮ์ได้รับผลกระทบจากกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่นเดียวกับที่ผู้คนได้รับผลกระทบจากมัน

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ห้ามบุคคลที่กินกระเทียม หัวหอม หรือต้นหอม ไปมัสยิด
  2. สิ่งเหล่านี้รวมถึงสิ่งใดก็ตามที่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ซึ่งเป็นผลกระทบต่อผู้ที่มาละหมาด เช่น กลิ่นควันบุหรี่ ยาสูบ และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน
  3. สาเหตุของการห้ามคือกลิ่น ดังนั้น หากกลิ่นมันหายไปจากการปรุงอาหารที่จำนวนมากหรืออย่างอื่น ความน่ารังเกียจก็หมดไป
  4. ไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้สำหรับผู้ที่ต้องการไปละหมาดที่มัสยิด เพื่อจะได้ไม่พลาดการละหมาดญะมาอะฮ์ในมัสยิด และหากว่าจะรับประทานมันเพื่อให้ตัวเองไม่ต้องไปมัสญิด ในกรณีนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้าม
  5. ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม งดเว้นจากการกินกระเทียมและสิ่งที่คล้ายกัน ไม่ใช่เพราะมันเป็นสิ่งต้องห้าม แต่เพราะท่านจะสื่อสารกับญิบรีล อะลัยฮิสสลาม
  6. การสอนที่ดีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยที่ท่านออกข้อบังคับด้วยการอธิบายถึงสาเหตุของมัน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับรู้ ด้วยความรู้แห่งวิทยปัญญา
  7. อัลกอฏีย์ กล่าวว่า: บรรดานักวิชาการได้เทียบเคียงสิ่งนี้กับการชุมนุมละหมาดอื่นที่ไม่ใช่มัสยิดด้วย เช่น สถานที่ละหมาดอีด ละหมาดศพ และการรวมตัวสักการะอื่นที่คล้ายกัน เช่นเดียวกับการรวมตัวของการเรียนรู้ การรำลึก งานเลี้ยง และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน และสิ่งที่ไม่เข้าข่ายในนีคือ ตลาดและที่คล้ายคลึงกัน
  8. นักวิชาการกล่าวว่า: หะดีษนี้เป็นหลักฐานว่าผู้ที่กินกระเทียมและสิ่งที่คล้ายกันนั้นถูกห้ามไม่ให้เข้ามัสยิด แม้ว่ามัสยิดจะว่างเปล่าก็ตาม เพราะเป็นสถานที่ของมลาอิกะฮ์ และตามความหมายทั่วไปของหะดีษ
ดูเพิ่มเติม