عَنْ حُذَيْفَةَ رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«لَا تَقُولُوا: مَا شَاءَ اللهُ وَشَاءَ فُلَانٌ، وَلَكِنْ قُولُوا: مَا شَاءَ اللهُ ثُمَّ شَاءَ فُلَانٌ».

[صحيح بمجموع طرقه] - [رواه أبو داود والنسائي في الكبرى وأحمد]
المزيــد ...

จากท่านหุซัยฟะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"พวกท่านจงอย่ากล่าวคำว่า: "c2">“มาชาอัลลอฮ์ วะชาอะ ฟุลาน” (เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น) แต่จงกล่าวว่า "c2">“มาชาอัลลอฮ์ ษุมมะ มาชาอะ ฟุลาน”
(มันเป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์จากนั้นเป็นความประสงค์ของคนนั้น)"
เศาะฮีห์ - รายงานโดย อันนะซาอีย์

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่อนุญาตให้มุสลิมพูดในคำพูดของเขาว่า: "เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคนนั้น" หรือกล่าวว่า"เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และของบุคคลนั้น" เพราะความประสงค์ของอัลลอฮ์และความต้องการของพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่สมบูรณ์และไม่มีใครมีส่วนร่วมในความประสงค์ของพระองค์แม้แต่คนเดียว การใช้ตัวอักษร "วาว(و)" บ่งบอกถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลนั้นกับอัลลอฮ์และเป็นการทำให้สถานะของอัลลอฮ์กับบุคคลนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน แต่จงกล่าวว่า"เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ หลังจากนั้นเป็นความประสงค์ของบุคคลนั้น" ดังนั้นเขาทำให้ความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวอยู่ภายใต้พระประสงค์ของอัลลอฮ์ โดยใช้คำว่า: "หลังจากนั้น" แทนที่จะเป็น "และ" เพราะคำว่า "หลังจากนั้น" หมายถึงหลังจากนั้นและทีหลัง ล่าช้า

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ ปุชตู อะซามีส السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ห้ามมิให้กล่าวคำว่า: "เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของคุณ" และสำนวนที่คล้ายกันที่เป้นการเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์ด้วย "วาว(و)" เพราะมันเป็นการตั้งภาคีในรูปแบบของถ้อยคำและคำพูด
  2. อนุญาตให้พูดว่า: “เป็นความประสงค์ของอัลลอฮ์ จากนั้นเป็นความประสงค์ของคุณ” และสำนวนที่คล้ายกันที่เป็นการเชื่อมโยงกับอัลลอฮ์ด้วย "ษุมมา(ثم)" เพราะไม่มีคำเตือนใดๆ ในนั้น
  3. เป็นการยืนยันถึงการมีคุณลักษณะความประสงค์สำหรับอัลลอฮ์ และยืนยันถึงการมีความประสงค์ของบ่าว และความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวนั้นอยู่ภายใต้พระประสงค์ของอัลลอฮ์ ตะอาลา
  4. ห้ามไม่ให้ผู้คนเข้าไปมีหุ้นส่วนในความประสงค์ของอัลลอฮ์ แม้ว่าจะเป็นทางวาจาก็ตาม
  5. หากผู้ที่กล่าวประโยคนั้นได้ศรัทธาว่าความประสงค์ของผู้เป็นบ่าวนั้นเทียบเท่ากับพระประสงค์ของอัลลอฮ์ ตะอาลา เทียบเท่าในความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเชื่อว่าผู้เป็นบ่าวนั้นมีความประสงค์ที่เป็นอิสระถือว่าเป็นการตั้งภาคีใหญ่ แต่ถ้าเขาเชื่อว่ามันไม่ใช่แบบนั้น ถือว่าเป็นชีริกเล็ก
ดูเพิ่มเติม