+ -

عَنْ أَبِي سَعِيدٍ الخُدْرِيَّ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ -وَكَانَ غَزَا مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ غَزْوَةً- قَالَ: سَمِعْتُ أَرْبَعًا مِنَ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَعْجَبْنَنِي، قَالَ:
«لاَ تُسَافِرِ المَرْأَةُ مَسِيرَةَ يَوْمَيْنِ إِلَّا وَمَعَهَا زَوْجُهَا أَوْ ذُو مَحْرَمٍ، وَلاَ صَوْمَ فِي يَوْمَيْنِ: الفِطْرِ وَالأَضْحَى، وَلاَ صَلاَةَ بَعْدَ الصُّبْحِ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ، وَلاَ بَعْدَ العَصْرِ حَتَّى تَغْرُبَ، وَلاَ تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلاَثَةِ مَسَاجِدَ: مَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الأَقْصَى، وَمَسْجِدِي هَذَا».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 1995]
المزيــد ...

จากอบูซะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ -ซึ่งเขาได้เคยร่วมสงครามกับท่านนบี 12 ครั้ง- เขากล่าวว่า "ฉันได้ยินสี่ประการซึ่งทำให้ฉันประทับใจจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านนบีกล่าวว่า:
"ผู้หญิงอย่าได้เดินทางเป็นระยะทางสองวัน เว้นแต่จะมีสามีของเธอหรือมะห์ร็อมของเธออยู่ด้วย อย่าได้ถือศีลอดในสองวัน: อัลฟิฏริ และอัลอัฎฮา อย่าได้ละหมาดหลังจากละหมาดศุบฮ์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น และอย่าได้ละหมาดหลังจากละหมาดอัศร์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และอย่าได้ออกเดินทางยกเว้นไปยังมัสยิดสามแห่ง ได้แก่ มัสยิดหะรอม (มักกะฮ์) มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดของฉัน""

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 1995]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามสี่ประการ
ประการที่หนึ่ง ห้ามมิให้ผู้หญิงเดินทางเป็นระยะเวลาสองวัน โดยไม่มีสามีของเธอหรือมะห์ร็อมของเธอร่วมอยู่ด้วย มะห์ร็อม คือ บุคคลที่ห้ามแต่งงานกับเธออย่างถาวร เช่น ลูกชาย พ่อ หลานชายฝั่งพี่น้องชาย หลานชายฝั่งพี่น้องหญิง ลุงฝั่งพ่อ ลุงฝั่งแม่ เป็นต้น
ประการที่สอง ห้ามถือศีลอดในวันอีดอัลฟิฏริ และวันอีดอัลอัฎฮา ไม่ว่าจะถือศีลอดตามคำบนบาน หรือสมัครใจ หรือการไถ่บาป
ประการที่สาม ห้ามละหมาดซุนนะฮ์ (ละหมาดโดยสมัครใจ) หลังจากละหมาดอัศร์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และหลังจากละหมาดศุบฮ์ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น
ประการที่สี่ ห้ามเดินทางไปยังสถานที่ใดๆ โดยเชื่อว่าสถานที่นั่นมีความประเสริฐและมีผลบุญทวีคูณ ยกเว้นมัสยิดสามแห่ง ดังนั้น อย่าได้เดินทางไปยังมัสยิดอื่นเพื่อทำการละหมาด เพราะผลบุญมิได้ทวีคูณ ณ มัสยิดใดๆ นอกจากสามมัสยิดเท่านั้น ได้แก่ มัสยิดหะรอม (มักกะฮ์) มัสยิดนบี (มะดีนะฮ์) และมัสยิดอัลอักศอ

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา الولوف
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเดินทางโดยไม่มีมะห์ร็อม
  2. ผู้หญิงมิใช่มะห์ร็อมสำหรับผู้หญิงด้วยกันในการเดินทาง ดังคำกล่าวของท่านนบีที่ว่า “สามีของเธอหรือผู้ที่เป็นมะห์ร็อม”
  3. ทุกสิ่งที่เรียกว่าการเดินทางถือเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้หญิงที่ไม่มีสามีหรือมะห์ร็อมไปด้วย และหะดีษนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ถามและถิ่นที่อยู่ของเขา
  4. มะห์ร็อมของผู้หญิง คือ สามีของเธอ หรือผู้ที่ห้ามแต่งงานกับเธออย่างถาวร เนื่องจากมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน เช่น พ่อ ลูก ลุงทางฝ่ายพ่อและแม่ หรือมีความสัมพันธ์ทางสายนม เช่น พ่อทางสายนม และลุงทางสายนม หรือมีความสัมพันธ์ด้วยการแต่งงาน เช่น พ่อของสามี และมะห์ร็อมต้องมีเงื่อนไขเป็นมุสลิม บรรลุศาสนบัญญัติ มีสติสัมปชัญญะ มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจ เพราะจุดประสงค์ของการมีมะห์ร็อมคือเพื่อปกป้องผู้หญิง ดูแลเธอ และช่วยในกิจการของเธอ
  5. กฎหมายอิสลามเอาใจใส่ต่อสตรี ปกป้องและรักษาพวกเธอ
  6. การละหมาดซุนนะฮ์ทั่วไป (ละหมาดโดยสมัครใจ) หลังจากละหมาดศุบฮ์และละหมาดอัศร์ถือว่าใช้ไม่ได้ นอกจากเป็นการชดเชยละหมาดฟัรฎู และละหมาดที่มีเหตุเฉพาะ เช่น ละหมาดตอนเข้ามัสยิด เป็นต้น
  7. ห้ามละหมาดหลังดวงอาทิตย์ขึ้นทันที แต่ต้องรอให้ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงประมาณเท่ากับหอก ประมาณสิบนาทีถึงสิบห้านาที
  8. เวลาละหมาดอัศร์ขยายไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก
  9. อนุญาตให้เดินทางไปมัสยิดทั้งสามแห่งดังกล่าวได้
  10. ความประเสริฐของมัสยิดทั้งสามแห่งและมีคุณลักษณะเด่นเหนือมัสยิดอื่น
  11. ไม่อนุญาตให้เดินทางไปเยี่ยมสุสาน แม้ว่าจะเป็นสุสานของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ตาม แต่อนุญาตให้เยี่ยมได้สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเมืองมะดีนะฮ์ด้วยวัตถุประสงค์ที่เป็นที่อนุญาตตามหลักการศาสนา
ดูเพิ่มเติม