عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ رضي الله عنه عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«لَا عَدْوَى، وَلَا طِيَرَةَ، وَيُعْجِبُنِي الْفَأْلُ» قَالَ قِيلَ: وَمَا الْفَأْلُ؟ قَالَ: «الْكَلِمَةُ الطَّيِّبَةُ».
[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 2224]
المزيــد ...
จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ไม่มีการแพร่เชื้อโรค (หรือไม่ต้องกลัวการติดเชื้อ) ไม่มีความเชื่อในลางร้าย และฉันชอบ อัลฟะล์" พวกเขาถามว่า แล้ว อัลฟะล์ คืออะไร? ท่านตอบว่า: "คำพูดที่ดี"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 2224]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกให้ทราบว่า การเชื่อในเรื่องการแพร่เชื้อโรคที่คนในยุคก่อนอิสลามเชื่อว่าโรคนั้นสามารถแพร่ไปยังอีกคนหนึ่งด้วยตัวของมันเอง โดยปราศจากการกำหนดลิขิตของอัลลอฮ์นั้น เป็นความเชื่อที่ผิด และการเชื่อในลางร้ายเป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งหมายถึง การรู้สึกไม่ดีหรือการรู้สึกโชคร้ายจากสิ่งต่างๆ ที่ได้ยินหรือได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นนก สัตว์ ผู้ที่มีความพิการ ตัวเลข วันเวลา หรือสิ่งอื่น ๆ การที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวถึงนกในหะดีษบทนี้นั้น เพราะเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยก่อนอิสลาม และที่มาของเรื่องคือ พวกเขาจะปล่อยนกเมื่อจะเริ่มกระทำการใดๆ เช่น การเดินทาง การค้าขาย หรือสิ่งอื่นๆ หากนกบินไปทางขวาจะถือว่าเป็นลางดีและดำเนินการตามแผนที่ตั้งใจไว้ และหากมันบินไปทางซ้ายจะถือว่าเป็นลางร้ายและหยุดการกระทำสิ่งนั้น จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้แจ้งว่า ท่านชอบ อัลฟะล์ ซึ่งหมายถึงความรู้สึกดีๆ หรือความสุขที่เกิดจากการได้ยินคำพูดดีๆ ซึ่งทำให้คนมีความหวังดีและมีความเชื่อที่ดีต่อพระเจ้า