+ -

عَنْ ‌أَبِي حُمَيْدٍ أَوْ عَنْ ‌أَبِي أُسَيْدٍ قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«إِذَا دَخَلَ أَحَدُكُمُ الْمَسْجِدَ فَلْيَقُلِ: اللَّهُمَّ افْتَحْ لِي أَبْوَابَ رَحْمَتِكَ، وَإِذَا خَرَجَ فَلْيَقُلِ: اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ مِنْ فَضْلِكَ».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 713]
المزيــد ...

จากท่านอบี หุมัยด์ หรือจากท่านอบี อุสัยด์ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
หากคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านต้องการเข้ามัสยิด ก็จงกล่าว"อัลลอฮุม มัฟตะห์ลี อับวาบะเราะห์มะติกะ" และหากต้องการออก ก็จงกล่าวว่า"อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ มิน ฟัฎลิกะ"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 713]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แนะประชาชาติของท่านเกี่ยวกับบทดุอาอ์ที่ควรกล่าวก่อนเข้ามัสยิด คือ""อัลลอฮุม มัฟตะห์ลี อับวาบะเราะห์มะติกะ" (ความว่า โอ้ อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดเปิดบรรดาประตูแห่งความเมตตาของพระองค์ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด) ให้เขาขอต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา ให้พระองค์ทรงประทานความง่ายดายเพื่อให้ได้มาซึ่งความเมตตาของพระองค์ และเมื่อต้องการที่จะออกก็ให้กล่าวว่า "อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกะ มิน ฟัฎลิกะ" (ความว่า โอ้ อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ ส่วนหนึ่งจากความโปรดปรานของพระองค์) โดยขอต่ออัลลอฮ์ซึ่งส่วนหนึ่งจากความโปรดปรานของพระองค์ และให้ได้รับการเพิ่มพูมจากริสกีที่หะลาล

การแปล: อังกฤษ อูรดู อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ตุรกี บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี พม่า ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา ภาษายูเครน
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. สุนนะฮ์ให้กล่าวบทดุอาอ์นี้เมื่อต้องการเข้าและออกจากมัสยิด
  2. การเจาะจงด้วยบท"เราะห์มะฮ์"(ความเมตตา) ในตอนเข้า และบท "อัลฟัฎล์"(ความโปรดปราน) ในตอนออกนั้น เพราะผู้ที่เข้ามัสยิดนั้น เขาจะหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เขาเข้าใกล้อัลลอฮ์และสวรรค์ของพระองค์ ดังนั้นจึงสมควรที่จะกล่าวถึงความเมตตา และเมื่อเขาออกไปแล้ว เขาก็จะดิ้นรนเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ที่เป็นปัจจัยยังชีพ จึงสมควรที่จะกล่าวถึงความโปรดปราน
  3. บทดุอาอ์นี้ให้กล่าวตอนที่ต้องการเข้ามัสยิด และตอนที่ต้องการออกจากมัสยิด
ดูเพิ่มเติม