عَنِ ابْنِ مَسْعُودٍ رضي الله عنه عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«سَتَكُونُ أَثَرَةٌ وَأُمُورٌ تُنْكِرُونَهَا» قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ فَمَا تَأْمُرُنَا؟ قَالَ: «تُؤَدُّونَ الحَقَّ الَّذِي عَلَيْكُمْ، وَتَسْأَلُونَ اللَّهَ الَّذِي لَكُمْ».

[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากท่านอบูมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"c2">“แท้จริงจะมีคนเห็นแก่ตัว(ผู้ปกครอง) และสิ่งต่างๆ ที่พวกเจ้ารับไม่ได้” พวกเขาถามว่า "c2">“โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ์ แล้วท่านจะใช้ให้พวกเราทำอย่างไร?”
ท่านตอบว่า “ทำหน้าที่ที่วาญิบเหนือพวกเจ้า และขอต่ออัลลอฮ์ทรงประทานสิ่งที่เป็นสิทธิของพวกเจ้า"
เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกว่าบรรดามุสลิมีนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ที่จะผูกขาดเงินทองของมุสลิมและกิจการต่างๆ ทางโลก โดยใช้จ่ายตามที่พวกเขาพอใจและพวกเขาจะห้ามสิทธิต่างๆ ของมุสลิมในการใช้สิทธิของพวกเขาทีมีต่อทรัพย์สินนั้น . จะมีเรื่องราวที่ไม่เป็นที่ยอมรับปรากฎขึ้นกับพวกเขาที่เกี่ยวกับเรื่องศาสนา บรรดาเศาะฮาบะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ได้ถามท่านว่า: แล้วพวกเขาจะทำอย่างไรในสภาพที่เกิดขึ้นนั้น? ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกพวกเขาว่า การครอบครองทรัพย์สมบัติของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นการขัดขวางไม่ให้พวกเจ้าละทิ้งสิ่งที่เป็นหน้าที่ที่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามพวกเขา แต่จงอดทน เชื่อฟัง และปฏิบัติตาม และไม่โต้เถียงกับพวกเขาในเรื่องนั้น และจงขอสิทธิต่างๆ ที่เป็นของพวกเจ้าจากอัลลอฮ์ และขอพระองค์ทรงแก้ไขพวกเขา และขอความคุ้มครองจากความชั่วร้ายและความอธรรมของพวกเขา

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ ปุชตู อะซามีส السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. หะดีษนี้เป็นหนึ่งในหลักฐานของการแสดงถึงความเป็นนบี ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังที่ท่านเล่าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประชาชาติของท่าน และมันก็เกิดขึ้นตามที่ท่านได้บอกไว้
  2. อนุญาตให้ทำการประกาศแก่ผู้ประสบภัยทราบถึงภัยพิบัติที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับพวกเขาได้ เพื่อให้เกิดการเตรียมตัวมีสติ และเมื่อภัยนั้นได้เข้ามา เขาจะได้อดทนและหวังการตอบแทนจากอัลลอฮ์
  3. การยึดมั่นในอัลกุรอานและซุนนะฮ์เป็นทางออกจากฟิตนะฮ์และความขัดแย้ง
  4. ส่งเสริมให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำในสิ่งที่เป็นความดี และไม่อนุญาตทำการกบฏต่อพวกเขา แม้ว่าพวกเขาจะกระทำการอธรรมแก่พวกท่านก็ตาม
  5. การใช้วิทยปัญญาและการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ในเวลาที่เกิดฟิตนะฮ์
  6. บุคคลต้องปฏิบัติในหน้าที่ที่รับผิดชอบ แม้ว่าความอธรรมจะเกิดขึ้นกับเขาก็ตาม
  7. หะดีษนี้เป็นที่มาของกฎที่ว่า: เลือกสิ่งที่เบาที่สุดจากสิ่งไม่ดีทั้งสอง หรือกฏที่ว่า เลือกที่เบาที่สุดจากภัยอันตรายทั้งสอง