+ -

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ مَسْعُودٍ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«لَيْسَ الْمُؤْمِنُ بِالطَّعَّانِ وَلاَ اللَّعَّانِ وَلاَ الفَاحِشِ وَلاَ البَذِيءِ».

[صحيح] - [رواه الترمذي] - [سنن الترمذي: 1977]
المزيــد ...

จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า : ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
“ผู้ศรัทธานั้นไม่ใช่คนที่ชอบใส่ร้ายผู้อื่น ไม่ใช่คนที่สาปแช่ง ไม่ใช่คนที่พูดหยาบคาย และไม่ใช่คนที่พูดจาลามก”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัตติรมีซีย์] - [สุนันอัตติรมิซีย์ - 1977]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้แจ้งว่า บุคคลที่มีอีหม่านสมบูรณ์นั้นจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการนินทาหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้คนในเรื่องชาติตระกูลของพวกเขา และจะไม่เป็นผู้ที่ด่าทอหรือสาปแช่งผู้อื่นบ่อย ๆ และจะไม่เป็นผู้ที่ทำสิ่งที่หยาบคายทั้งในการกระทำและการพูด ซึ่งเป็นคำพูดที่ขาดความละอาย

การแปล: อังกฤษ อินโดนีเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การปฏิเสธอีหม่านในตัวบททางศาสนานั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการกระทำสิ่งต้องห้าม (หะรอม) หรือการละทิ้งหน้าที่ที่จำเป็น (วาญิบ)
  2. การส่งเสริมให้รักษาอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและปกป้องมันจากสิ่งที่ไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมลิ้น (คำพูด)
  3. อัซซินดีย์กล่าวว่า:อการใช้คำว่า 'คนที่ชอบตำหนิ' และ 'คนที่ชอบสาปแช่ง' ในรูปแบบเน้น บ่งบอกว่าการตำหนิหรือสาปแช่งเพียงเล็กน้อยในผู้ที่คู่ควร ไม่ส่งผลต่อการคงอยู่ของคุณสมบัติผู้ศรัทธา
ดูเพิ่มเติม