+ -

عَنْ عُقْبَةَ بْنِ عَامِرٍ الْجُهَنِيِّ رضي الله عنه:
أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَقْبَلَ إِلَيْهِ رَهْطٌ، فَبَايَعَ تِسْعَةً وَأَمْسَكَ عَنْ وَاحِدٍ، فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللهِ، بَايَعْتَ تِسْعَةً وَتَرَكْتَ هَذَا؟ قَالَ: «إِنَّ عَلَيْهِ تَمِيمَةً»، فَأَدْخَلَ يَدَهُ فَقَطَعَهَا، فَبَايَعَهُ، وَقَالَ: «مَنْ عَلَّقَ تَمِيمَةً فَقَدْ أَشْرَكَ».

[حسن] - [رواه أحمد] - [مسند أحمد: 17422]
المزيــد ...

จากอุกบะฮ์ บิน อามิร อัลญุฮะนีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า:
มีคนกลุ่มหนึ่งได้มาหาท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านก็ทำสัตยาบันกับ 9 คนและงดเว้น 1 คน พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านเราะซูลุลลอฮ์ (เหตุใด)ท่านได้ทำสัตยาบันกับ 9 คนและละเว้นชายคนนี้? ท่านตอบว่า "เพราะแท้จริงเขาสวมเครื่องราง" แล้วเขาก็สอดมือเข้าไปแล้วตัดมันออก จากนั้นท่านนบีจึงทำสัตยาบันกับชายคนนั้น และกล่าวว่า "ผู้ใดที่สวมใส่เครื่องราง แน่นอนเขาได้ตั้งภาคี(กับอัลลอฮ์)แล้ว"

-

คำอธิบาย​

มีคนกลุ่มหนึ่งจำนวน 10 คนได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านก็ทำสัตยาบันกับ 9 คนว่าจะจงรักภักดีและปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม โดยงดเว้นทำสัตยาบันกับ คนที่ 10 ซึ่งเมื่อท่านถูกถามถึงเหตุผลดังกล่าว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า เพราะแท้จริงเขาสวมใส่เครื่องราง ซึ่งมันคือสิ่งที่ใช้ผูกหรือแขวนทำมาจากลูกปัดและสิ่งอื่นๆ เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรืออันตราย ชายคนนั้นก็สอดมือเข้าไปที่ตำแหน่งเครื่องรางแล้วตัดมันออก และกำจัดมันออกไป จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงทำสัตยาบันกับเขา และกล่าวตักเตือนเรื่องเครื่องรางพร้อมกับแจ้งบทบัญญัติของมันว่า "ผู้ใดที่สวมใส่เครื่องราง แน่นอนเขาได้ตั้งภาคี(กับอัลลอฮ์)แล้ว"

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ผู้ใดพึ่งพาบุคคลอื่นนอกจากอัลลอฮ์ อัลลอฮ์จะทรงปฏิบัติต่อเขาตรงกันข้ามกับความตั้งใจของเขา
  2. การเชื่อว่าการสวมเครื่องรางเป็นเหตุในการป้องกันอันตรายและความชั่วร้ายนั้นถือเป็นชิริกเล็ก แต่ถ้าผู้ใดเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สามารถให้ประโยชน์ด้วยตัวของมันเอง ก็ถือเป็นชิริกใหญ่
ดูเพิ่มเติม