+ -

عَنْ ‌أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«إِذَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ فِي بَطْنِهِ شَيْئًا، فَأَشْكَلَ عَلَيْهِ أَخَرَجَ مِنْهُ شَيْءٌ أَمْ لَا، فَلَا يَخْرُجَنَّ مِنَ الْمَسْجِدِ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا، أَوْ يَجِدَ رِيحًا».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 362]
المزيــد ...

จากท่านอบูฮุรัยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ถ้าคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้ารู้สึกมีอะไรบางอย่างในท้องของเขา และสงสัยว่าเขาปล่อยลมออกมาหรือไม่ เขาไม่ควรออกจากมัสยิดเว้นแต่เขาจะได้ยินเสียงหรือได้กลิ่น”.

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 362]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายว่าหากมีความสงสัยใดๆ ที่เกิดขึ้นในท้องของผู้ละหมาด และทำให้เกิดความสับสนว่ามีสิ่งใดออกมาจากท้องหรือเปล่า? ดังนั้นเขาจึงไม่ต้องออกจากการละหมาดก่อนและทิ้งการละหมาดนั้นเพื่อทำการอาบน้ำละหมาดใหม่ จนกว่าเขาจะแน่ใจว่ามีสิ่งที่ทำให้น้ำละหมาดของเขานั้นเสียจริงๆ ด้วยการได้ยินเสียงลมหรือได้สัมผัสกลิ่น เพราะสิ่งที่มั่นใจมันจะไม่ถูกทำลายโดยสิ่งที่สงสัย และผู้ละหมาดได้มั่นใจว่ามีน้ำละหมาด และสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่สงสัย

การแปล: อังกฤษ อูรดู อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ตุรกี บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก الموري ภาษามาลากาซี ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา الولوف ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษายูเครน الجورجية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. หะดีษนี้เป็นหลักหนึ่งจากหลักต่างๆ ของศาสนาอิสลาม และเป็นกฎหนึ่งจากกฎต่างๆ ของหลักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งก็คือ: ความมั่นใจจะไม่หายไปด้วยความสงสัย และหลักเดิมของทุกสิ่งนั้นจะคงอยู่บนหลักนั้นตราบนานเท่านาน จนกว่าจะมีความมั่นใจเป็นอย่างอื่น.
  2. ความสงสัยไม่ส่งผลใดๆ ต่อการมีน้ำละหมาด และผู้ละหมาดยังคงอยู่ในน้ำละหมาดของเขา ตราบใดที่เขายังมั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดที่ทำให้น้ำละหมาดเสีย.