عن أبِي هُرَيرةَ رضي الله عنه أنَّ رسول الله صلى الله عليه وسلمَ قال:
«إذا قُلْتَ لِصَاحِبِكَ: أَنْصِتْ، يومَ الجمعةِ، والْإِمامُ يَخْطُبُ، فَقَدْ لَغَوْتَ».

[صحيح] - [متفق عليه]
المزيــد ...

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
หากคุณกล่าวแก่เพื่อนของคุณว่า "จงเงียบ" ในวันศุกร์ ขณะที่อิหม่ามกำลังอ่านคุฏบะฮ์ แสดงว่าคุณได้ทำให้ผลบุญของการละหมาดวันศุกร์นั้นเป็นโมฆะ"

เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่าหนึ่งในมารยาทที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มาละหมาดวันศุกร์คือ: การตั้งใจฟังเนื้อหาคุตบะฮ์ เพื่อใคร่ครวญคำสอน และใครก็ตามที่พูด - แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม - ในขณะที่อิหม่ามกำลังให้การคุตบะฮ์อยู่ แล้วเขาผู้นั้นได้พูดกับคนอื่นว่า "จงเงียบ" หรือ "จงฟัง" ถือว่าเขาได้พลาดคุณค่าของการละหมาดวันศุกร์แล้ว.

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية الدرية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ห้ามพูดคุยในขณะที่กำลังฟังคุตบะฮ์ แม้จะเป็นการห้ามทำความชั่ว หรือจะเป็นการตอบรับสลามหรือการดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่จามก็ตาม
  2. จากกรณีดังกล่าวนั้นมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่พูดคุยกับอิหม่ามหรืออิหม่ามพูดกับเขา.
  3. อนุญาตพูดระหว่างสองคุตบะฮ์ เมื่อจำเป็น
  4. เมื่อมีการกล่าวถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในขณะที่อิหม่ามกำลังอ่านคุตบะฮ์ ดังนั้นท่านควรทำการเศาะละวาต และให้สลามแก่ท่านแบบเงียบๆ และเช่นเดียวกันกับการกล่าว "อามีน" เมื่อมีการขอดุอาอ์.
ดูเพิ่มเติม