+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«أَسْرِعُوا بِالْجِنَازَةِ، فَإِنْ تَكُ صَالِحَةً فَخَيْرٌ تُقَدِّمُونَهَا، وَإِنْ يَكُ سِوَى ذَلِكَ، فَشَرٌّ تَضَعُونَهُ عَنْ رِقَابِكُمْ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 1315]
المزيــد ...

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"พวกเจ้าจงรีบเร่งจัดการและนำศพไปฝังเถิด เพราะถ้าผู้ตายเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เขาจะได้มีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี แต่ถ้ามิได้เป็นเช่นนั้น พวกเจ้าก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกเจ้าเสียที"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 1315]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งให้จัดการศพ ละหมาดและฝังโดยเร็ว หากศพนั้นมีการงานที่ดี มันก็ดีสำหรับเขามากกว่าด้วยความสุขในหลุมศพ แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนั้น พวกเจ้าก็จะได้วางความชั่วร้ายลงจากบ่าของพวกเจ้าเสียที

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อิบนุ ฮาญาร์ กล่าวว่า: เป็นการสมควรที่จะรีบเร่ง แต่ในลักษณะที่ไม่ถึงขั้นเกิดอันตรายต่อศพ หรือสร้างความยากลำบากให้กับผู้แบก หรือผู้ส่งศพ
  2. การรีบเร่งจะถูกจำกัดในกรณีการตายไม่กะทันหันโดยกลัวว่า (ผู้ตาย) แค่เป็นลม ดังนั้น ไม่ควรฝังศพจนกว่าจะแน่ใจว่าตายแน่นอน หรือหน่วงไว้เล็กน้อยก็เพื่อประโยชน์ของจำนวนผู้ละหมาดในจำนวนมาก หรือการมาพบของบรรดาญาติพี่น้องของเขา และไม่กลัวเกิดความเสียหายใดสำหรับเขา
  3. เรียกร้องให้รีบเร่งจัดการศพเพื่อประโยชน์ของผู้ตายหากศพเป็นคนดี หรือเพื่อประโยชน์ของผู้ส่งศพหากศพเป็นคนชั่ว
  4. อัล-นะวาวีย์ กล่าวว่า: และสิ่งที่ได้รับจาก (หะดีษ) บทนี้ คือ การละทิ้งการคบหากับผู้ที่ไม่ใช่คนศอลิฮ์ (คนดี)
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษาสวาฮีลี อะซามีส แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย ภาษาฮังการี الجورجية
ดูการแปล