+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الْوُضُوءَ ثُمَّ أَتَى الْجُمُعَةَ فَاسْتَمَعَ وَأَنْصَتَ غُفِرَ لَهُ مَا بَيْنَهُ وَبَيْنَ الْجُمُعَةِ وَزِيَادَةُ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ، وَمَنْ مَسَّ الْحَصَى فَقَدْ لَغَا».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 857]
المزيــد ...

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดอย่างดี และเดินไปสู่การละหมาดญุมุอะฮ์(วันศุกร์) ได้ฟังคุฏบะฮ์(การเทศนา) และได้ตั้งใจฟังอย่างดี เขานั้นก็จะถูกให้อภัยโทษระหว่างสองศุกร์ และเพิ่มอีกสามวัน และบุคคลที่นับหินในมัสยิด (ก็ถือว่าเขาได้หันเหออกจากการฟังคุฎบะฮ์แล้ว) ผลบุญ(การตอบแทน) ของเขาถือว่าลดน้อยลง"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 857]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกเราว่าใครก็ตามที่อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ โดยปฏิบัติทั้งรุก่น ซุนนะฮ์และมารยาทต่างๆ ของการอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ จากนั้นมาละหมาดวันศุกร์และฟังคุฏบะฮ์อย่างตั้งใจและนิ่งเงียบ ไม่ทำสิ่งไร้สาระ อัลลอฮ์จะทรงอภัยบาปเล็กๆ น้อยๆ ของเขาเป็นเวลาสิบวัน คือตั้งแต่ละหมาดวันศุกร์นั้นจนถึงอีกวันศุกร์หนึ่ง และเพิ่มอีกสามวัน เพราะความดีจะทวีคูณเป็นสิบเท่า จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เตือนใจไม่ให้หันเหไปสนใจอื่นจากสิ่งที่กล่าวในเทศนา และห้ามแตะต้องแขนขาด้วยการสัมผัสก้อนกรวด และการกระทำอื่นๆ ที่ทำให้หันเหจากการเทศนา ไม่ว่าใครก็ตามที่กระทำเช่นนั้น เท่ากับผลบุญของเขาลดน้อยลง โดยการลดน้อยลงนี้ คือจะไม่ได้ความสมบูรณ์ในการละหมาดวันศุกร์นั้น

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี ภาษากันนาดา
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การกระตุ้นให้ทำการอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์อย่างดี รวมถึงการรักษาและให้ความสำคัญกับการละหมาดวันศุกร์
  2. ความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ของการละหมาดวันศุกร์
  3. จำเป็นในการเงียบฟังเทศนาวันศุกร์ (คุตบะ) ในวันศุกร์ และไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการพูดคุยหรือสิ่งอื่นใดระหว่างนั้น
  4. หากคนหนึ่งคนใดที่ไม่ใส่ใจในการฟังเทศนา การละหมาดวันศุกร์ของเขาถือว่าใช้ได้ และหลุดพ้นจากภาคบังคับ โดยที่ผลบุญของเขาจะลดลง