+ -

عَنْ ‌حُمْرَانَ مَوْلَى عُثْمَانَ بْنِ عَفَّانَ رضي الله عنه:
أَنَّهُ رَأَى عُثْمَانَ بْنَ عَفَّانَ دَعَا بِوَضُوءٍ، فَأَفْرَغَ عَلَى يَدَيْهِ مِنْ إِنَائِهِ، فَغَسَلَهُمَا ثَلَاثَ مَرَّاتٍ، ثُمَّ أَدْخَلَ يَمِينَهُ فِي الْوَضُوءِ، ثُمَّ تَمَضْمَضَ وَاسْتَنْشَقَ وَاسْتَنْثَرَ، ثُمَّ غَسَلَ وَجْهَهُ ثَلَاثًا، وَيَدَيْهِ إِلَى الْمِرْفَقَيْنِ ثَلَاثًا، ثُمَّ مَسَحَ بِرَأْسِهِ، ثُمَّ غَسَلَ كُلَّ رِجْلٍ ثَلَاثًا، ثُمَّ قَالَ: رَأَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَوَضَّأُ نَحْوَ وُضُوئِي هَذَا، وَقَالَ: «مَنْ تَوَضَّأَ نَحْوَ وُضُوئِي هَذَا ثُمَّ صَلَّى رَكْعَتَيْنِ لَا يُحَدِّثُ فِيهِمَا نَفْسَهُ غَفَرَ اللهُ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 164]
المزيــد ...

จากท่านหุมรอน คนรับใช้ของท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เล่าว่า เขาได้เห็นอุษมาน อิบนุอัฟฟาน ขอน้ำเพื่ออาบน้ำละหมาด แล้วท่านได้เอาน้ำในภาชนะของท่านเทใส่ในมือ จากนั้นก็ล้างมือทั้งสอง 3 ครั้ง จากนั้นท่านเอามือขวาของท่านจุ่มลงในน้ำละหมาด จากนั้นท่านก็บ้วนปากและสูดน้ำเข้าจมูกแล้วสั่งออกมา ต่อมาท่านก็ล้างหน้า 3 ครั้ง และล้างมือถึงข้อศอก 3 ครั้ง จากนั้นก็เช็ดศีรษะแล้วล้างเท้าทั้งสองข้าง 3 ครั้ง จากนั้นท่านก็กล่าวว่า "ฉันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อาบน้ำละหมาดเหมือนการอาบน้ำละหมาดของฉันนี้ จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดอาบน้ำละหมาดอย่างฉัน แล้วละหมาด 2 ร็อกอะฮด้วยความบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะอภัยโทษให้แก่เขาในบาปที่เขาได้กระทำมา”
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 164]

คำอธิบาย​

ท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้สอนวิธีการอาบน้ำละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยวิธีการที่เป็นภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง ท่านได้ขอน้ำมาในภาชนะที่หนึ่ง แล้วได้เทน้ำลงในมือทั้งสองของท่าน 3 ครั้ง และหลังจากนั้นท่านก็จุ่มมือขวาลงในภาชนะ แล้วเอาน้ำมาบ้วนปาก แล้วเอาน้ำส่วนหนึ่งสูดเข้าจมูกแล้วสั่งออกมา จากนั้นก็ล้างหน้า 3 ครั้ง แล้วล้างมือถึงข้อศอก 3 ครั้ง แล้วท่านก็ลูบหัวของท่านด้วยมือที่เปียกน้ำ 1 ครั้ง แล้วล้างเท้าทั้งสองถึงตาตุ่ม 3 ครั้ง.
เมื่อท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เสร็จจากการอาบน้ำละหมาดแล้ว ท่านกล่าวว่า ท่านได้เห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำการอาบน้ำละหมาดแบบนี้ และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็แจ้งข่าวดีแก่พวกเขาว่า ใครก็ตามที่ทำการอาบน้ำละหมาดเช่นเดียวกับการอาบน้ำละหมาดของท่าน แล้วละหมาดสองร็อกอะฮ์ด้วยความนอบน้อมนำหัวใจของเขาไปยังอัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์จะตอบแทนเขาสำหรับการอาบน้ำละหมาดที่สมบูรณ์นี้และการละหมาดที่บริสุทธิ์ใจนี้ด้วยการอภัยโทษสำหรับบาปที่ผ่านมา

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า เยอรมัน ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี ภาษาอิตาเลี่ยน คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา ภาษายูเครน
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ส่งเสริมให้ล้างมือก่อนจุ่มลงในภาชนะก่อนเริ่มอาบน้ำละหมาด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ลุกจากการนอนหลับก็ตาม แต่หากเป็นการตื่นขึ้นจากการนอนหลับในเวลากลางคืน ก็วาญิบต้องล้างมือทั้งสอง
  2. ครูควรใช้แนวทางที่ส่งผลมากที่สุดในการทำความเข้าใจและสร้างความรู้สำหรับผู้เรียน ซึ่งรวมถึงการสอนด้วยการปฏิบัติ
  3. จำเป็นสำหรับผู้ที่ละหมาดต้องขจัดความคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก เพราะความสมบูรณ์แบบของการละหมาดนั้นอยู่ที่การสำนึกของหัวใจว่าอยู่ในนั้น มิฉะนั้นความคิดต่างๆ ก็จะไม่ปลอดภัยจากมัน ดังนั้นเขาจึงต้องพยายามต่อสู้กับตัวเองและไม่หลงไปกับสิ่งนั้น
  4. ส่งเสริมให้เริ่มด้วยมือขวาในการอาบน้ำละหมาด
  5. ได้มีบทบัญญัติให้มีการเรียงลำดับระหว่างการบ้วนปาก การสูดน้ำเข้าจมูก และการสั่งน้ำออกมา
  6. ซุนนะฮ์ให้ล้างหน้า มือ และเท้า 3 ครั้ง แต่วาญิบที่ต้องให้ล้างคือ 1 ครั้ง
  7. การอภัยโทษจากอัลลอฮ์สำหรับบาปที่ผ่านมานั้น ขึ้นกับการกระทำทั้งสองสิ่งรวมกัน: คือการอาบน้ำละหมาดและการละหมาดสองร็อกอะฮ์ ตามวิธีการที่กล่าวไว้ในหะดีษ
  8. แต่ละส่วนของอวัยวะในการอาบน้ำละหมาดนั้นมีขอบเขตที่จำกัด: ขอบเขตของใบหน้า: เริ่มจากรากของเส้นผมปกติของศีรษะลงไปถึงเคราและคาง และความกว้างจากหูข้างหนึ่งถึงหูอีกข้างหนึ่ง ขอบเขตของมือ: เริ่มจากปลายนิ้วมือถึงข้อศอกซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างปลายแขนและต้นแขน ส่วนขอบเขตของหัว: เริ่มจากรากของเส้นผมปกติจากด้านข้างของใบหน้าถึงด้านบนของคอ และการเช็ดหูคือส่วนหนึ่งจากหัว ส่วนขอบเขตของเท้า: คือเท้าทั้งหมดที่รวมถึงข้อต่อระหว่างเท้ากับลำแข้ง(ตาตุ่ม)