عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه عَنِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَ:
«إِيَّاكُمْ وَالظَّنَّ؛ فَإِنَّ الظَّنَّ أَكْذَبُ الْحَدِيثِ، وَلَا تَحَسَّسُوا، وَلَا تَجَسَّسُوا، وَلَا تَحَاسَدُوا، وَلَا تَدَابَرُوا، وَلَا تَبَاغَضُوا، وَكُونُوا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا».
[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 6064]
المزيــد ...
จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"จงห่างไกลจากการสงสัย เพราะแท้จริงแล้ว การสงสัยเป็นคำพูดที่โกหกที่สุด และอย่าสอดรู้สอดเห็น อย่าสอดแนม อย่าอิจฉากัน และอย่าหันหลังให้แก่กัน และอย่าเกลียดชังกัน และจงเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ด้วยความเป็นพี่น้องกัน”
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 6064]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามและเตือนให้ระวังจากสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก ความเป็นศัตรูระหว่างมุสลิมด้วยกัน และสิ่งเหล่านั้นคือ:
(ความสงสัย/คิดในทางที่ไม่ดี) คือการกล่าวหาที่เกิดขึ้นอยู่ในใจโดยไม่มีหลักฐาน และท่านได้อธิบายว่าเป็นการโกหกที่สุดประการหนึ่ง
(การสอดรู้สอดเห็น) คือการค้นหาสิ่งที่ไม่ดีของผู้อื่นด้วยสายตาที่แอบมองและหูที่แอบฟัง
(การสอดแนม) คือการค้นหาเรื่องที่ถูกซ่อนไว้ และส่วนใหญ่มักใช้ในทางที่ไม่ดี
(การอิจฉา) คือความเกลียดชังกับความสุขที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น
(การหันหลังให้กัน/การไม่สนใจกัน) คือการไม่สนใจระหว่างกัน ไม่ให้สลาม ไม่เยี่ยมเยียนพี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิม
(การเกลียดชังกัน) และการบาดหมางกันและการปลีกตัวออกจากัน เช่น การทำร้ายผู้อื่น การทำหน้าบึ้งขมวดคิ้ว และการสนทนาที่ไม่ดี
จากนั้น ท่านก็ได้กล่าวคำที่ครอบคลุมเพื่อการปรับปรุงแก้ใขเรื่องราวของมุสลิมด้วยกัน ด้วยคำว่า: (จงเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ด้วยการเป็นพี่น้องกัน) เพราะความเป็นพี่น้องกันคือความผูกพันที่ฟื้นคืนความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและเพิ่มความรักและความใกล้ชิดระหว่างพวกเขา