+ -

عَنْ جَرِيرِِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ رضي الله عنه قَالَ:
بَايَعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى شَهَادَةِ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ، وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ اللَّهِ، وَإِقَامِ الصَّلاَةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَالسَّمْعِ وَالطَّاعَةِ، وَالنُّصْحِ لِكُلِّ مُسْلِمٍ.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 2157]
المزيــد ...

จากญะรีร บิน อับดุลลอฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
ฉันได้ให้สัตยาบัน​แก่ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการยึดมั่นคำกล่าวชะฮาดะ​ฮ​์ (คำปฏิญาณตน)​ ว่าไม่มีพระเจ้า​อื่น​ใด​ที่​ควร​ได้รับ​การ​เคา​ร​พอ​ิ​บา​ดะ​ฮ​์​ นอกจาก​อัลลอฮ์เพียง​พระองค์​เดียว​ และมุฮ​ั​มมัดเป็นศาสนทูต​ของพระองค์​ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะ​กาต​ การเชื่องฟังและการน้อมรับ และการให้คำตักเตือน​แก่มุสลิมทุกคน

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 2157]

คำอธิบาย​

เศาะหาบะฮ์ท่านหนึ่งที่ชื่อญะรีร บิน อับดุลลอฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เขาได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการยึดมั่นหลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์​ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาดห้าเวลาในแต่ละวันอย่างครบเงื่อนไข องค์ประกอบ สิ่งที่เป็นวาญิบ และสิ่งที่เป็นสุนนะฮ์ การจ่ายซะ​กาตที่เป็นภาคบังคับ ซึ่งมันเป็นอิบาดะฮ์ประเภทเงินที่ต้องจ่ายออกไป โดยเก็บจากผู้ที่มีฐานะร่ำรวยและแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์รับ เช่น คนจนและบุคคลอื่นอีก(เจ็ดประเภท)​ การเชื่อฟังผู้นำ และการให้คำตักเตือน​แก่มุสลิมทุกคน โดยพยายามให้เขาได้รับประโยชน์ ส่งต่อความดีให้แก่เขา และปกป้องสิ่งชั่วร้ายออกจากเขาทั้งคำพูดและการกระทำ

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความสำคัญของการละหมาดและการจ่ายซะกาต ซึ่งทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักในศาสนาอิสลาม
  2. ความสำคัญของการตักเตือนและการร่วมกันตักเตือนในหมู่ชาวมุสลิม จนกระทั่งท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ให้สัตยาบันกับบรรดาเศาะหาบะฮ์ในเรื่องดังกล่าว
ดูเพิ่มเติม