عن عمران بن حصين رضي الله عنهما قال: كانت بي بَوَاسيرُ، فسألت النبي صلى الله عليه وسلم عن الصلاة، فقال: «صَلِّ قائما، فإن لم تستطع فقاعدا، فإن لم تستطع فعلى جَنْبٍ».
[صحيح] - [رواه البخاري]
المزيــد ...

รายงานจากอิมรอม อิบนุ หุศอยนฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา เล่าว่า ฉันเป็นโรคริดสีดวงทวาร ฉันจึงถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับการละหมาด ท่านจึงกล่าวว่า "c2">“เจ้าจงละหมาดในสภาพที่ยืน แต่หากไม่สามารถที่จะยืนได้ก็จงนั่งเสีย และหากไม่สามารถที่จะนั่งก็จงละหมาดบนสีข้าง (ตะแคงขวา)
เศาะฮีห์ - รายงานโดย อัลบุคอรีย์

คำอธิบาย​

หะดีษนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการละหมาดสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารหรือมีอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ขณะยืน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้บอกว่า ตามหลักเดิมของการละหมาด คือต้องยืนละหมาด ยกเว้นในสภาวะที่ไม่มีความสามารถ ก็ให้ละหมาดในสภาพที่นั่ง และหากไม่สามารถที่จะนั่งละหมาดได้ ก็ให้เขาละหมาดบนสีข้าง (ตะแคงขวา) ของเขาได้

การแปล: อังกฤษ ฝรั่งเศส เนื้อหาภาษาสเปน ตุรกี อูรดู อินโดนีเซีย บอสเนีย รัสเซีย เบ็งกอล จีน เปอร์เซีย​ ตากาล็อก ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ภาษาสิงหล ภาษาอุยกูร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ พม่า ญี่ปุ่น ปุชตู อะซามีส อัลบาเนียน السويدية الأمهرية الهولندية الغوجاراتية
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. จำเป็นจะต้องสังเกตระดับการละหมาดฟัรฎูของผู้ป่วย ดังนั้นถ้าหากว่าเขาสามารถยืนละหมาดได้ จำเป็นที่เขาจะต้องยืน เพราะการยืนนั้นเป็นหนึ่งในรุก่นของการละหมาดฟัรฎู ถึงแม้ว่าอยู่ในสภาพที่ใช้ไม้เท้าค้ำหรือพิงฝาผนัง หรืออื่น ๆ ก็ตาม
  2. ถ้าหากว่าไม่สามารถยืนได้หรือเกิดความยากลำบาก ก็จำเป็นต้องนั่ง ถึงแม้ว่าจะต้องนั่งพิงก็ตาม และให้เขารุกั๊วะและสุญูดตามความสามารถ แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถนั่งได้หรือเกิดความยากลำบาก ก็ให้เขาละหมาดบนสีข้างของเขา และสีข้างด้านขวาจะประเสริฐกว่า แต่ถ้าหากว่าเขาจะละหมาดในท่านอนราบหันไปทางกิบลัตก็ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถนอนราบได้ ก็ให้เขาผงกศรีษะของเขา และให้การผงกศรีษะเพื่อการสุญูดต่ำกว่าการผงกศรีษะเพื่อการรูกั๊วะ เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่าง 2 รุก่นและเนื่องจากว่าการสุญูดนั้นต่ำกว่าการรุกั๊วะ
  3. อย่าเปลี่ยนจากสภาพใดสภาพหนึ่งไปยังสภาพที่ด้อยกว่า ยกเว้นเมื่อไม่มีความสามารถหรือเกิดความยากลำบากจากสภาพแรก หรือเกิดความลำบากที่จะปฏิบัติมัน เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปยังสภาพที่มีข้อจำกัดนั้น ต้องทำเมื่อไม่มีความสามารถ
  4. ขอบเขตความยากลำบากที่อนุญาตให้สามารถนั่งละหมาดฟัรฎูได้ คือ ความยากลำบากที่ทำให้ความคุชั๊วะหายไป เพราะการคุชั๊วะนั้นคือเป้าหมายของการละหมาดที่ใหญ่ที่สุด
  5. อุปสรรคที่อนุญาตให้นั่งละหมาดฟัรฎูได้นั้นมีหลายประการ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะการป่วยเท่านั้น แต่มีรูปแบบอื่นๆ เช่น หลังคาต่ำซึ่งไม่สามารถออกมาด้านนอกได้ การละหมาดในเรือเล็กหรือเรือเดินสมุทร หรือรถ หรือเครื่องบินเมื่อต้องการละหมาดและไม่สามารถที่จะยืนได้ ทั้งหมดนี้คืออุปสรรคทั้งสิ้น
  6. การละหมาดจะยังไม่เป็นที่ยกเว้น ตราบใดที่สติปัญญายังสมบูรณ์ ดังนั้นถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถผงกศรีษะของเขาได้ ก็ให้กระพริบตาของเขา โดยการเหลือบตาลงเล็กน้อยสำหรับการรุกั๊วะและเหลือบตาลงให้มากกว่าเดิมสำหรับการสุญูด ถ้าหากเขาสามารถอ่านด้วยลิ้นของเขาได้ ก็ให้เขาอ่าน แต่ถ้าอ่านด้วยลิ้นไม่ได้ ก็ให้เขาอ่านในใจ และถ้าหากเขาไม่สามารถกระพริบตาได้ ก็ให้เขาละหมาดในใจ
  7. ใจความโดยรวมของหะดีษนี้คือ ให้ผู้ที่มีอุปสรรคนั่งละหมาดในท่าที่เขาต้องการ และเป็นมติเอกฉันท์ด้วย แต่มีความเห็นขัดแย้งกันว่า ท่าไหนจะดีกว่ากัน สำหรับความเห็นของนักวิชาการส่วนมากคือ ละหมาดโดยนั่งทับขาทั้ง 2 ข้างโดยให้ปลายนิ้วเท้าข้างขวายันพื้นเพื่อแทนอิริยาบถที่ต้องยืนและเงยขึ้นมาจากการรุกั๊วะ และละหมาดโดยนั่งพับเพียบแทนอิริยาบทที่เงยมาจากการสุญูด
  8. แท้จริงพระบัญชาใช้ของอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ให้ถือปฎิบัติตามความสามารถ ดังนั้นอัลลอฮฺจะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้น
  9. ความสะดวกสบายและความเรียบง่ายของศาสนาอิสลาม ดั่งคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า “และอัลลอฮฺมิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา”(ซูเราะฮฺ อัล-ฮัจญ์ : 78) “อัลลอฮฺทรงปรารถนาที่จะผ่อนผันให้แก่พวกเจ้า” (ซูเราะฮฺ อัล-นิซาอฺ) ฉะนั้นความเมตตาของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์นั้นมีกว้างขวางยิ่ง
  10. สิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นหุก่มของการละหมาดฟัรฎู สำหรับการละหมาดสุนัตนั้นอนุญาตให้นั่งละหมาดได้ แม้ว่าไม่มีอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม แต่ถ้านั่งละหมาดในสภาพที่มีอุปสรรค ภาคผลของมันจะสมบูรณ์ และถ้าไม่มีอุปสรรคก็จะได้รับภาคผลครึ่งหนึ่งของผลบุญของผู้ที่ยืนละหมาด ดั่งที่มีระบุไว้ในหะดีษ
ดูเพิ่มเติม