عَنِ النَّوَّاسِ بْنِ سِمْعَانَ الْأَنْصَارِيِّ رضي الله عنه قَالَ:
سَأَلْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنِ الْبِرِّ وَالْإِثْمِ، فَقَالَ: «الْبِرُّ حُسْنُ الْخُلُقِ، وَالْإِثْمُ مَا حَاكَ فِي صَدْرِكَ، وَكَرِهْتَ أَنْ يَطَّلِعَ عَلَيْهِ النَّاسُ».
[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 2553]
المزيــد ...
อัน-เนาวัส บิน สิมอาน อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
ฉันได้ถามท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับความความดีและบาป และท่านกล่าวว่า: “ความดีคือมีมารยาทที่ดี ส่วนบาปคือสิ่งที่ทำให้ใจของเจ้ากระวนกระวาย และเจ้าไม่ต้องการให้ผู้คนรับรู้ถึงสิ่งนั้น"
[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 2553]
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับความดีและบาป และท่านตอบว่า:
คุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความความดีคือการประพฤติตนที่ดีต่อพระเจ้าด้วยความยำเกรงต่อพระองค์ และต่อผู้คนผ่านการอดทนต่ออันตราย การยังยั้งความโกรธ ใบหน้าที่ร่าเริง คำพูดที่ดี การเชื่อมความสัมพันธ์ เชื่อฟัง และมีความสุภาพอ่อนโยน ใจกว้าง และการอยู่ร่วมกันอย่างดีและเป็นมิตร
ส่วนบาปนั้นคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระวนกระวายในจิตใจจากสิ่งที่น่าสงสัยและลังเล โดยไม่มีความสบายใจเกิดขึ้นในใจ นำมาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยในหัวใจ และกลัวว่าสิ่งนั้นอาจเป็นบาป และไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้คนเห็น เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ดีในสายตาของผู้มีเกียรติและบุคคลผู้เพียบพร้อม เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว จิตใจของมนุษย์ย่อมชอบให้ผู้อื่นรับรู้ถึงความดีของตน ดังนั้น หากจิตใจไม่ต้องการให้คนอื่นเห็นในบางการกระทำของตน ก็แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นบาป ไม่มีความดีอยู่ในนั้น