+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«لاَ عَدْوَى وَلاَ طِيَرَةَ، وَلاَ هَامَةَ وَلاَ صَفَرَ، وَفِرَّ مِنَ المَجْذُومِ كَمَا تَفِرُّ مِنَ الأَسَدِ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 5707]
المزيــد ...

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
"ไม่มีโรคระบาด ไม่มีเรื่องลางดีลางร้าย ไม่มีเรื่องลางเกี่ยวกับนกฮูกและเดือนซอฟัร และจงหนีจากคนที่เป็นโรคเรื้อนเหมือนหนีจากสิงโต"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 5707]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อธิบายบางสิ่งบางอย่างที่เป็นการปฏิบัติกันในยุคก่อนอิสลาม เพื่อเตือนให้ห่างไกลจากสิ่งนั้น และเป็นการอธิบายว่าเรื่องเหล่านี้อยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ และไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นได้ นอกจากโดยพระบัญชาของพระองค์ และการกำหนดของพระองค์ สิ่งเหล่านั้นมีดังนี้ คือ:
ประการที่หนึ่ง: ผู้คนในยุคก่อนอิสลามนั้น พวกเขาจะเชื่อว่าโรคจะเกิดการติดต่อได้ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงห้ามไม่ให้เชื่อว่าโรคจะทำให้เกิดการติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งด้วยตัวของมันเอง เพราะอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้จัดการในจักรวาลนี้ พระองค์คือผู้ทรงทำให้โรคลงมาและทรงกำจัดมัน และโรคนั้นจะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่โดยพระประสงค์และการกำหนดของพระองค์เท่านั้น
ประการที่สอง: ผู้คนในยุคก่อนอิสลาม เวลาพวกเขาจะออกเดินทางหรือทำการค้าขาย พวกเขาจะปล่อยนกออกไป หากนกบินไปทางขวา พวกเขาจะดีใจ และหากนกบินไปทางซ้าย พวกเขาจะถือเป็นลางร้ายและจะเบือนหน้าหนี ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้เชื่อในเรื่องลางต่างๆ ด้วยการใช้นก และท่านได้อธิบายว่า การเชื่อในลักษณะนั้น เป็นการเชื่อที่ผิด
ประการที่สาม: ผู้คนในยุคก่อนอิสลาม มักจะกล่าวว่า: หากนกฮูกมาเกาะที่บ้านใครแสดงว่า ภัยพิบัติจะเกิดกับผู้ที่อาศัยในบ้านหลังนั้น ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงห้ามความเชื่อเกี่ยวกับลางร้ายในรูปแบบนี้
ประการที่สี่: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้เชื่อในเรื่องลางที่เกี่ยวกับเดือนซอฟัร ซึ่งเป็นเดือนที่สองของปฏิทินจันทรคติ ในบางทัศนะกล่าวว่าซอฟัรนั้น คือ งูตัวหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในท้อง ซึ่งจะแพร่ระบาดในหมู่ปศุสัตว์และมนุษย์ พวกเขาเชื่อว่ามันเป็นโรคติดต่อได้ง่ายกว่าโรคหิด ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงปฏิเสธความเชื่อแบบนี้
ประการที่ห้า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะสัลลัม ใช้ให้ออกห่างจากผู้ที่เป็นโรคเรื้อนเหมือนอย่างคนๆ หนึ่งที่จะอยู่ห่างจากสิงโต ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันตนเองและแสวงหาความปลอดภัย และให้อยู่ในกรอบของเหตุผลที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และโรคเรื้อนนั้น คือ โรคที่กัดกินอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. วาญิบจำเป็นต้องมอบหมายต่ออัลลอฮ์และยึดมั่นกับพระองค์ และใช้ชีวิตในกรอบของเหตุและผลที่ศาสนาอนุญาต
  2. วาญิบจำเป็นต้องศรัทธาต่อการตัดสินและการกำหนดของอัลลอฮ์ และสาเหตุทั้งหมดอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์ และพระองค์คือผู้ที่ทำให้มันเกิดขึ้นหรือทำลายผลของมันไป
  3. ปฏิเสธการเชื่อในเรื่องลางที่เกี่ยวกับสีต่างๆ เช่น สีดำและสีแดง หรือเกี่ยวกับตัวเลข ชื่อ บุคคล และคนพิการ
  4. ในการห้ามไม่ให้อยู่ใกล้คนที่เป็นโรคเรื้อนและโรคติดต่อนั้น ถือเป็นเหตุผลที่อัลลอฮ์ทรงกำหนดเป็นกฎธรรมชาติที่นำไปสู่ผลจากสาเหตุนั้นได้ และสาเหตุต่างๆ นั้น มันไม่ได้เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง แต่อัลลอฮ์ต่างหากเป็นผู้กำหนด คือหากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็จะทรงทำลายอำนาจของมันไป โรคนั้นก็จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบใดๆ และหากพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็จะทรงปล่อยมันไป และให้มันทำงานต่อไป
ดูเพิ่มเติม