+ -

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رضي الله عنهما قَالَ:
كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ القُرْآنَ، فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالخَيْرِ مِنَ الرِّيحِ المُرْسَلَةِ.

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 6]
المزيــد ...

จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า :
“ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด และท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุดในเดือนเราะมะฎอน เมื่อยามที่ท่านพบกับญิบรีล และญิบรีลจะมาพบกับท่านเราะซูลในทุกค่ำคืนของเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะมาศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 6]

คำอธิบาย​

ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นคนที่มีน้ำใจมากที่สุดความมีน้ำใจนี้จะปรากฏมากในช่วงเดือนเราะมาฎอน โดยท่านจะมอบสิ่งที่ควรแก่ผู้ที่ควรได้รับ และเหตุผลที่ทำให้ความใจบุญของท่านเพิ่มขึ้นมีสองประการ:
ประการแรก: การพบปะของท่านนบีกับญิบรีล อะลัยฮิสสลาม
อีกประการหนึ่งคือการศึกษาและทบทวนอัลกุรอาน ซึ่งเป็นการอ่านจากความจำ
ดังนั้น ญิบรีล อะลัยฮิสสลาม จะทำการทวนอัลกุรอานทั้งหมดที่ลงมากับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบีเป็นผู้ที่มีความใจบุญและมีการให้ที่มากที่สุด พร้อมทั้งทำความดีอย่างรวดเร็วและเกิดประโยชน์ต่อผู้คนมากกว่าลมที่ดีที่อัลลอฮ์ส่งมาให้เป็นฝนและความเมตตา.

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาเนปาล ภาษาดารี
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. อธิบายถึงความมีน้ำใจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และความกว้างขวางของความใจบุญของท่าน โดยเฉพาะในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนแห่งการทำความดีและโอกาสที่เต็มไปด้วยความดีต่างๆ
  2. การกระตุ้นให้มีความใจบุญในทุกช่วงเวลา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน
  3. ให้เพิ่มการให้ การบริจาค การทำความดี และการอ่านอัลกุรอานในเดือนรอมฎอน
  4. เหตุผลประการหนึ่งในการรักษาความรู้คือ การศึกษาร่วมกับผู้มีความรู้และนักวิชาการ