+ -

عن الْأَغَرِّ رضي الله عنه، وَكَانَ مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«يَا أَيُّهَا النَّاسُ تُوبُوا إِلَى اللهِ، فَإِنِّي أَتُوبُ فِي الْيَوْمِ إِلَيْهِ مِائَةَ مَرَّةٍ».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 2702]
المزيــد ...

จากท่านอัลอะฆ็อรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า:
"โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮฺ) ต่ออัลลอฮฺ เถิด เพราะแท้จริงฉัน กลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์วันละร้อยครั้ง"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 2702]

คำอธิบาย​

ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้สั่งเสียแก่ประชาชนให้ทำการเตาบะฮฺ (กลับเนื้อกลับตัว) และขออภัยโทษจากอัลลอฮฺให้มาก ๆ พร้อมทั้งบอกเกี่ยวกับตัวของท่านเองว่า ท่านกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺ และขออภัยโทษจากพระองค์ในแต่ละวันมากกว่าร้อยครั้ง ทั้งที่ความผิดในอดีตและอนาคตของท่านนั้นได้ถูกอภัยแล้ว ในสิ่งนี้คือความสมบูรณ์ของการแสดงความนอบน้อมและการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่ง

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. "มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสถานะหรือระดับในความศรัทธาเพียงใดก็ตาม ย่อมต้องการที่จะกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง และต้องทำให้ตัวเองสมบูรณ์ด้วยการเตาบะฮฺ (การกลับเนื้อกลับตัว) เนื่องจากทุกคนย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ต่อพระเจ้า ผู้ทรงเกียรติและสูงส่ง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า:
  2. (และพวกเจ้าจงกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกันเถิด โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย)"
  3. "การเตาบะฮฺ (การกลับเนื้อกลับตัว) นั้นเป็นเรื่องทั่วไป ครอบคลุมทั้งการกลับเนื้อกลับตัวจากการกระทำสิ่งต้องห้ามและบาป รวมถึงการกลับเนื้อกลับตัวจากการละเลยหรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ที่วาญิบด้วย"
  4. "ความบริสุทธิ์ใร (อิคลาศ) ในการเตาบะฮฺเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การเตาบะฮฺถูกตอบรับ ดังนั้น ผู้ที่ละทิ้งบาปโดยไม่ได้ทำเพื่ออัลลอฮฺ ย่อมไม่ถือว่าเป็นผู้ที่ได้เตาบะฮฺอย่างแท้จริง"
  5. อิมามอันนะวาวีย์ กล่าวว่า: การเตาบะฮฺมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ
  6. 1.ต้องเลิกกระทำบาปนั้นโดยทันที
  7. 2.ต้องรู้สึกเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำไป
  8. 3.ต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปกระทำบาปนั้นอีกตลอดไป
  9. และหากบาปนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้อื่น มีเงื่อนไขเพิ่มอีกข้อหนึ่ง คือ:
  10. 4. ต้องคืนสิ่งที่ได้ละเมิดต่อเจ้าของสิทธิ หรือขอให้เขายกโทษให้
  11. "เตือนให้ระวังว่าการที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺนั้น ไม่ได้หมายความว่าท่านได้กระทำบาป แต่เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์ของการเป็นบ่าวที่แท้จริง และการยึดมั่นอยู่กับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกรุลลอฮฺ) อีกทั้งยังเป็นการตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของสิทธิของอัลลอฮฺ และข้อบกพร่องของบ่าว แม้ว่าเขาจะพยายามขอบคุณต่อความโปรดปราณของพระองค์มากเพียงใดก็ตาม นอกจากนี้ ยังเป็นการวางบทบัญญัติแก่ประชาชาติของท่านหลังจากท่าน และรวมถึงประโยชน์อันลึกซึ้งอื่น ๆ อีกมากมาย"
การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน ภาษาเวียดนาม ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย
ดูการแปล
ดูเพิ่มเติม