+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ:
«مَنْ تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الْوُضُوءَ ثُمَّ أَتَى الْجُمُعَةَ فَاسْتَمَعَ وَأَنْصَتَ غُفِرَ لَهُ مَا بَيْنَهُ وَبَيْنَ الْجُمُعَةِ وَزِيَادَةُ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ، وَمَنْ مَسَّ الْحَصَى فَقَدْ لَغَا».

[صحيح] - [رواه مسلم] - [صحيح مسلم: 857]
المزيــد ...

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า: ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
"ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดอย่างดี และเดินไปสู่การละหมาดญุมุอะฮ์(วันศุกร์) ได้ฟังคุฏบะฮ์(การเทศนา) และได้ตั้งใจฟังอย่างดี เขานั้นก็จะถูกให้อภัยโทษระหว่างสองศุกร์ และเพิ่มอีกสามวัน และบุคคลที่นับหินในมัสยิด (ก็ถือว่าเขาได้หันเหออกจากการฟังคุฎบะฮ์แล้ว) ผลบุญ(การตอบแทน) ของเขาถือว่าลดน้อยลง"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย มุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 857]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกเราว่าใครก็ตามที่อาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ โดยปฏิบัติทั้งรุก่น ซุนนะฮ์และมารยาทต่างๆ ของการอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ จากนั้นมาละหมาดวันศุกร์และฟังคุฏบะฮ์อย่างตั้งใจและนิ่งเงียบ ไม่ทำสิ่งไร้สาระ อัลลอฮ์จะทรงอภัยบาปเล็กๆ น้อยๆ ของเขาเป็นเวลาสิบวัน คือตั้งแต่ละหมาดวันศุกร์นั้นจนถึงอีกวันศุกร์หนึ่ง และเพิ่มอีกสามวัน เพราะความดีจะทวีคูณเป็นสิบเท่า จากนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เตือนใจไม่ให้หันเหไปสนใจอื่นจากสิ่งที่กล่าวในเทศนา และห้ามแตะต้องแขนขาด้วยการสัมผัสก้อนกรวด และการกระทำอื่นๆ ที่ทำให้หันเหจากการเทศนา ไม่ว่าใครก็ตามที่กระทำเช่นนั้น เท่ากับผลบุญของเขาลดน้อยลง โดยการลดน้อยลงนี้ คือจะไม่ได้ความสมบูรณ์ในการละหมาดวันศุกร์นั้น

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโรมาเนีย
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การกระตุ้นให้ทำการอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์อย่างดี รวมถึงการรักษาและให้ความสำคัญกับการละหมาดวันศุกร์
  2. ความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ของการละหมาดวันศุกร์
  3. จำเป็นในการเงียบฟังเทศนาวันศุกร์ (คุตบะ) ในวันศุกร์ และไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการพูดคุยหรือสิ่งอื่นใดระหว่างนั้น
  4. หากคนหนึ่งคนใดที่ไม่ใส่ใจในการฟังเทศนา การละหมาดวันศุกร์ของเขาถือว่าใช้ได้ และหลุดพ้นจากภาคบังคับ โดยที่ผลบุญของเขาจะลดลง