+ -

عَنِ النُّعْمَانِ بْنِ بَشِيرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«مَثَلُ القَائِمِ عَلَى حُدُودِ اللَّهِ وَالوَاقِعِ فِيهَا، كَمَثَلِ قَوْمٍ اسْتَهَمُوا عَلَى سَفِينَةٍ، فَأَصَابَ بَعْضُهُمْ أَعْلاَهَا وَبَعْضُهُمْ أَسْفَلَهَا، فَكَانَ الَّذِينَ فِي أَسْفَلِهَا إِذَا اسْتَقَوْا مِنَ المَاءِ مَرُّوا عَلَى مَنْ فَوْقَهُمْ، فَقَالُوا: لَوْ أَنَّا خَرَقْنَا فِي نَصِيبِنَا خَرْقًا وَلَمْ نُؤْذِ مَنْ فَوْقَنَا، فَإِنْ يَتْرُكُوهُمْ وَمَا أَرَادُوا هَلَكُوا جَمِيعًا، وَإِنْ أَخَذُوا عَلَى أَيْدِيهِمْ نَجَوْا، وَنَجَوْا جَمِيعًا».

[صحيح] - [رواه البخاري] - [صحيح البخاري: 2493]
المزيــد ...

จากท่านนุอ์มาน บิน บะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“อุปมาผู้ที่อยู่ในขอบเขตของอัลลอฮ์กับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในนั้น ก็เปรียบเสมือนกลุ่มชนที่จับสลากบนเรือ แล้วบางคนจับสลากได้อยู่ชั้นบนและบางคนก็จับสลากได้อยู่ชั้นล่าง แต่ครั้นเมื่อผู้ที่อยู่ด้านล่างของเรือต้องการจะใช้น้ำ พวกเขาก็ต้องเดินขึ้นไปชั้นบนต้องเดินผ่านบรรดาผู้ที่อยู่เหนือพวกเขา พวกเขาจึงกล่าวว่า หากเราได้เจาะในส่วนของเรา เราจะได้ไม่ไปรบกวนคนที่อยู่ด้านบน ดังนั้นหากพวกเขาไม่สนใจคนกลุ่มนั้นและปล่อยให้พวกเขากระทำสิ่งที่ต้องการนั้น พวกเขาทั้งหมดก็จะต้องพินาศ แต่ถ้าพวกเขายับยั้งการกระทำนั้นได้ พวกเขาก็จะรอดกันทุกคน”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 2493]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำการเปรียบเทียบผู้ที่อยู่ในขอบเขตของอัลลอฮ์ ที่ยึดมั่นในพระบัญชาของพระองค์ ใช้ในสิ่งที่ถูกต้อง ห้ามปรามในสิ่งที่ผิด และเปรียบเทียบผู้ที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของอัลลอฮ์ ผู้ที่ละทิ้งสิ่งที่ถูกต้อง กระทำสิ่งที่ผิด และผลกระทบของสิ่งเหล่านั้นต่อความอยู่รอดของสังคม เปรียบเสมือนกับกลุ่มชนที่ขึ้นเรือ และพวกเขาก็หยิบสลากกันว่าใครจะนั่งบนเรือ ใครจะนั่งด้านล่าง ดังนั้นก็ทำให้บางคนได้อยู่ด้านบนและบางคนได้อยู่ด้านล่าง และถ้าคนที่อยู่ด้านล่างอยากตักน้ำพวกเขาต้องเดินผ่านข้ามผู้ที่อยู่เหนือพวกเขา แล้วพวกที่อยู่ด้านล่างก็กล่าวว่า ถ้าเราเจาะรูด้านล่างเพื่อเอาน้ำขึ้นมา เราจะได้ไม่ต้องไปรบกวนคนที่อยู่ด้านบน แล้วหากพวกที่อยู่ด้านบนปล่อยให้พวกเขาทำเช่นนั้น เรือก็จมลงพร้อมกับพวกเขาทั้งหมด และหากพวกเขาทำการห้ามปรามชนกลุ่มนั้นยับยั้งการกระทำนั้น ทั้งสองกลุ่มก็จะรอดอย่างแน่นอน

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี เยอรมัน ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโยรูบา ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษากินยาร์วันดา ภาษาโรมาเนีย ภาษาเช็ก ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา ภาษายูเครน
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความสำคัญของการใช้ในเรื่องความดีและห้ามปรามความชั่วในการปกป้องสังคมและความอยู่รอดของสังคม
  2. หนึ่งในวิธีการสอนคือการให้การเปรียบเทียบ เพื่อให้ง่ายในการสร้างความเข้าใจ ด้วยภาพที่จินตนาการได้
  3. การทำความชั่วแบบเปิดเผยโดยไม่มีการยับยั้งสิ่งนั้น ถือเป็นความเสียหายที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ทุกคน
  4. ความหายนะของสังคมเป็นผลจากการยอมให้ผู้ที่กระทำความชั่วมาสร้างความหายนะในแผ่นดิน
  5. พฤติกรรมที่ผิดกับเจตนาที่ดีนั้น มันไม่เพียงพอสำหรับการกระทำที่ดี
  6. ความรับผิดชอบในสังคมมุสลิมมีการแบ่งปันกันและไม่ได้มอบความไว้วางใจให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
  7. การลงโทษเกิดขึ้นกับส่วนรวมด้วยความผิดจากส่วนตัว หากไม่ได้ยับยั้งความชั่วนั้น
  8. ผู้ที่กระทำความชั่วพวกเขาจะแสดงความชั่วในทางที่ดีต่อสังคมเหมือนบรรดามุนาฟิกีน