+ -

عَنِ ابْنِ عُمَرَ رضي الله عنهما:
عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ نَهَى عَنِ النَّذْرِ، وَقَالَ: «إِنَّهُ لَا يَأْتِي بِخَيْرٍ، وَإِنَّمَا يُسْتَخْرَجُ بِهِ مِنَ الْبَخِيلِ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1639]
المزيــد ...

จากท่านอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา รายงานว่า:
จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมแท้จริงแล้วท่านห้ามการนะซัร คือ การที่บุคคลผู้บรรลุศาสนภาวะมีสติสัมปชัญญะ สมัครใจ ได้บังคับตัวเองต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นของบทบัญญัติ โดยการกล่าวด้วยวาจาที่บ่งชี้ถึงเรื่องนั้น โดยท่านกล่าวว่า “มันไม่ได้นำมาซึ่งความดี แต่มันจะถูกดึงออกมาจากคนตระหนี่”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1639]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ห้ามไม่ให้มีการนะซัร ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ต้องผูกมัดตนเองให้ทำบางสิ่งที่ชะรีอะฮ์ไม่ได้บังคับเขาให้ทำ และท่านยังได้กล่าวอีกว่า: คำนะซัรจะไม่ก้าวหน้าหรือเลื่อนออกไป สิ่งใดๆ ก็ตาม แต่ถูกดึงมาจากคนตระหนี่ซึ่งทำแต่สิ่งที่จำเป็นสำหรับเขาเท่านั้น และคำนะซัรจะไม่นำมาซึ่งสิ่งที่เขายังไม่ได้ทำไว้

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาเนปาล ภาษาดารี คำแปลภาษาโซมาเลีย คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ศาสนาไม่ได้กำหนดให้ต้องทำการบนบาน แต่ถ้าเขาให้บนบานไปแล้ว จะต้องปฏิบัติตามหากไม่ทำตามก็จะถือว่าเป็นบาป
  2. เหตุผลที่ห้ามการบนบาน (คือมันไม่นำสิ่งดีมาให้) เพราะมันไม่สามารถยับยั้งการกำหนดของอัลลอฮ์ได้ และเพื่อไม่ให้ผู้ที่บนบานคิดว่าการที่เขาได้รับสิ่งที่ขอนั้นเป็นเพราะการบนบาน แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ต้องการสิ่งนั้นเลย
  3. อัล-กุรฏุบีย์กล่าวว่า:การห้ามในบทหะดีษนั้นคือในกรณีที่มีการกล่าว เช่นว่า : ถ้าอัลลอฮ์ทรงรักษาคนป่วยของฉันให้หาย ฉันจะบริจาคเงินเป็นทานจำนวนเท่านี้ สาเหตุที่การกระทำนี้ถูกตำหนิ เพราะเมื่อมีการกำหนดการทำความดีบางอย่างบนเงื่อนไขของการบรรลุเป้าหมายบางอย่าง มันก็แสดงให้เห็นว่าคนคนนั้นไม่ได้มีเจตนาที่บริสุทธิ์ในการทำความดีเพื่อใกล้ชิดกับอัลลอฮ์จริงๆ แต่กลับทำให้การกระทำนั้นเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนมากกว่า สิ่งนี้ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อพิจารณาว่าหากคนป่วยของเขาไม่ได้รับการรักษาหาย เขาก็จะไม่ทำการบริจาคที่เขาได้ผูกติดไว้กับการรักษานั้น ซึ่งนี่เป็นสภาพของคนตระหนี่ ที่จะไม่ยอมสละทรัพย์สินของตัวเอง เว้นแต่จะได้รับสิ่งตอบแทนในทันทีที่มักจะมีมูลค่าสูงกว่าสิ่งที่เขาให้ไปเสียอีก