+ -

عَنْ أَبِي مُوسَى الأَشْعَرِيِّ رضي الله عنه قَالَ:
أَتَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فِي رَهْطٍ مِنَ الأَشْعَرِيِّينَ أَسْتَحْمِلُهُ، فَقَالَ: «وَاللَّهِ لاَ أَحْمِلُكُمْ، مَا عِنْدِي مَا أَحْمِلُكُمْ» ثُمَّ لَبِثْنَا مَا شَاءَ اللَّهُ فَأُتِيَ بِإِبِلٍ، فَأَمَرَ لَنَا بِثَلاَثَةِ ذَوْدٍ، فَلَمَّا انْطَلَقْنَا قَالَ بَعْضُنَا لِبَعْضٍ: لاَ يُبَارِكُ اللَّهُ لَنَا، أَتَيْنَا رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَسْتَحْمِلُهُ فَحَلَفَ أَنْ لاَ يَحْمِلَنَا فَحَمَلَنَا، فَقَالَ أَبُو مُوسَى: فَأَتَيْنَا النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَذَكَرْنَا ذَلِكَ لَهُ، فَقَالَ: «مَا أَنَا حَمَلْتُكُمْ، بَلِ اللَّهُ حَمَلَكُمْ، إِنِّي وَاللَّهِ -إِنْ شَاءَ اللَّهُ- لا أَحْلِفُ عَلَى يَمِينٍ، فَأَرَى غَيْرَهَا خَيْرًا مِنْهَا، إِلَّا كَفَّرْتُ عَنْ يَمِينِي، وَأَتَيْتُ الَّذِي هُوَ خَيْرٌ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح البخاري: 6718]
المزيــد ...

จากอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
ฉันมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมกับพรรคพวกของฉัน โดยหวังจะขอยานพาหนะจากท่าน (สัตว์สำหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็น) ท่านพูดว่า: "ขอสาบานด้วยพระเจ้า ฉันไม่อาจให้ยานพาหนะแก่พวกเจ้า ฉันไม่มียานพาหนะที่จะให้แก่พวกเจ้า” จากนั้นเราก็พักอยู่กับท่านได้สักพัก ก็ได้มีอูฐ(จำนวนหนึ่ง)ถูกนำมาให้ท่าน ดังนั้นท่านจึงสั่งมอบอูฐให้เราสามตัว เมื่อเราออกเดินทาง พวกเราบางคนก็พูดกันว่า: พระเจ้าคงไม่ทรงประทานความจำเริญแก่เราหรอก เราไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วเราก็ได้ขอยานพาหนะจากท่าน แต่ท่านกลับสาบานว่าจะไม่ให้ยานพาหนะแก่เรา และท่านก็ให้มันแก่เรา อบู มูซา กล่าวว่า: เราได้ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวแก่ท่าน และท่านกล่าวว่า: “ไม่ใช่ฉันที่จะให้ยานพาหนะแก่สูเจ้า แต่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงประทานให้แก่สูเจ้า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ - หากพระเจ้าทรงประสงค์” - ฉันจะไม่สาบาน และฉันคิดว่ามีสิ่งอื่นดีกว่านั้น เว้นแต่ฉันจะชดใช้คำสาบานของฉัน และฉันจะนำมาในสิ่งที่ดีกว่านั้น”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 6718]

คำอธิบาย​

อบูมูซา อัลอัชอะรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่าเขาไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พร้อมกับชนเผ่าของเขา และจุดประสงค์ของพวกเขาคือเพื่อขออูฐจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เพื่อจะได้เข้าร่วมทำญิฮาดได้ ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมสาบานว่า เขาจะไม่สามารถให้พวกเขาขี่ได้ เนื่องจากท่านไม่มีพาหนะที่เพียงพอสำหรับพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงกลับไปพักอยู่สักพัก จากนั้นอูฐสามตัวก็ถูกนำไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วท่านก็ส่งอูฐเหล่านั้นไปหาพวกเขา และบางคนก็พูดกันว่า: พระเจ้าคงไม่ทรงประทานความจำเริญแก่เราหรอก เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สาบานว่าจะไม่ให้ยานพาหนะแก่เรา พวกเขาจึงมาหาท่านนบีและถามท่านนบี ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า ผู้ที่จะทรงประทานยานพาหนะแก่สู่เจ้า คือพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ เพราะพระองค์คือผู้ประทานการชี้นำและปัจจัยยังชีพ แต่ฉันเป็นเหตุให้สิ่งนี้มีขึ้นนั้นด้วยมือของฉัน หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้กล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ หากเป็นที่ประสงค์ของพระองค์ ข้าพเจ้าจะไม่สาบานที่จะทำสิ่งใดหรือเลิกทำสิ่งใด และหากข้าพเจ้าเห็นว่าสิ่งที่ดีกว่าคำสาบานนั้นมีประโยชน์และมีคุณค่ามากกว่า ข้าพเจ้าจะเลือกทำสิ่งที่ดีกว่าและละทิ้งคำสาบานนั้น และข้าพเจ้าจะทำการไถ่คำสาบานของข้าพเจ้าด้วยการชดใช้ตามที่กำหนดไว้

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. การอนุญาตให้สาบานโดยไม่ต้องมีการร้องขอ: สามารถสาบานได้เพื่อยืนยันความจริงของถ้อยคำ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคตก็ตาม
  2. การอนุญาตให้ยกเว้นด้วยคำว่า "อินชาอัลลอฮ์" หลังการสาบาน: การกล่าวคำว่า "อินชาอัลลอฮ์" (หากเป็นที่ประสงค์ของอัลลอฮ์) หลังจากการสาบานนั้นเป็นสิ่งที่อนุญาตได้ และหากมีความตั้งใจในการยกเว้นพร้อมกับการสาบาน และคำกล่าวนี้เชื่อมโยงกับการสาบานโดยตรง บุคคลที่ผิดคำสาบานนั้นจะไม่จำเป็นต้องทำการไถ่โทษ (ไม่ต้องชดใช้สำหรับการผิดคำสาบาน)
  3. การสนับสนุนให้ละเมิดคำสาบานหากเห็นว่าสิ่งที่ดีกว่าคำสาบานนั้นมีประโยชน์มากกว่า พร้อมกับทำการชดใช้สำหรับการผิดคำสาบานของเขา (การไถ่คำสาบาน)