+ -

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«إِنَّ الدِّينَ يُسْرٌ، وَلَنْ يُشَادَّ الدِّينَ أَحَدٌ إِلَّا غَلَبَهُ، فَسَدِّدُوا وَقَارِبُوا، وَأَبْشِرُوا، وَاسْتَعِينُوا بِالْغَدْوَةِ وَالرَّوْحَةِ وَشَيْءٍ مِنَ الدُّلْجَةِ».

[صحيح] - [رواه البخاري] - [صحيح البخاري: 39]
المزيــد ...

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:
“แท้จริงศาสนาอิสลามนั้นง่ายและไม่มีใครทำให้กิจการของศาสนานั้นเป็นเรื่องยาก เว้นแต่จะต้องยอมจำนนไม่เอาในที่สุด แต่พวกเจ้าจงปฏิบัติให้ถูกต้องและให้ใกล้เคียง กับความสมบูรณ์มากที่สุด จงรับข่าวดีของผลบุญที่มากมาย และจงฉวยโอกาสในช่วงเช้า ช่วงเย็นและส่วนหนึ่งของเวลากลางคืน”

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์] - [เศาะฮีห์อัลบุคอรีย์ - 39]

คำอธิบาย​

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนว่าศาสนาอิสลามนั้นตั้งอยู่บนความง่ายดายและความสะดวกสบายในทุกด้าน และการผ่อนปรนนั้นจะยิ่งถูกเน้นย้ำเมื่อมีเหตุของความอ่อนแอหรือความจำเป็น เพราะการยึดถืออย่างเข้มงวดในภารกิจทางศาสนาและการละทิ้งความเมตตา จะนำไปสู่ความเหนื่อยล้าและการหยุดปฏิบัติ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สนับสนุนให้ยึดมั่นในทางสายกลางโดยไม่เกินเลยเกินควร เพื่อไม่ให้บ่าวละเลยสิ่งที่ถูกสั่งใช้ และไม่แบกรับสิ่งที่เกินความสามารถของตน หากไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ ก็ให้ปฏิบัติตามสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุด
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ให้ข่าวดีเกี่ยวกับรางวัลอันยิ่งใหญ่สำหรับการทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะน้อย สำหรับผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ เพราะหากความอ่อนแอเกิดจากสาเหตุที่ไม่ใช่ความผิดของเขา จะไม่ทำให้รางวัลของเขาลดน้อยลง
เนื่องจากโลกนี้แท้จริงแล้วเป็นที่พักชั่วคราวและการเดินทางสู่ชีวิตหลังความตาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้สั่งให้ขอความช่วยเหลือในการปฏิบัติการเคารพสักการะโดยการทำในช่วงเวลาสามช่วงที่กระชับกระเฉง
เวลาที่หนึ่ง: อัลฆ็อดวะฮ์: คือ ตอนเริ่มต้นของวัน; ระหว่างละหมาดยามรุ่งสางและพระอาทิตย์ขึ้น
เวลาที่สอง อัล-ราวฮะห์ : คือ หลังเที่ยง
เวลาที่สาม อัล-ดุลญะห์: ตลอดทั้งคืนหรือบางส่วน และเนื่องจากการทำงานในตอนกลางคืนนั้นยากลำบากกว่าตอนกลางวัน ท่านนบีจึงสั่งให้ปฏิบัติบางส่วนของมัน โดยกล่าวว่า: และบางส่วนของการทำงานในตอนกลางคืน

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี ภาษาทมิฬ ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี ภาษากันนาดา
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ความง่ายดายและความเมตตาของบทบัญญัติอิสลาม และการดำเนินไปในทางสายกลางระหว่างความเกินพอดีและความละเลย
  2. บ่าวของพระเจ้าควรปฏิบัติตามคำสั่งใช้ตามความสามารถของตน โดยไม่ผ่อนปรนหรือเข้มงวดจนเกินไป
  3. บ่าวของพระเจ้าควรเลือกช่วงเวลาที่ร่างกายกระปรี้กระเปร่าสำหรับการทำอิบาดะฮฺ (การเคารพสักการะ) และช่วงเวลาสามช่วงนี้โดยเฉพาะเป็นช่วงที่ร่างกายรู้สึกสบายที่สุดสำหรับการปฏิบัติอิบาดะฮฺ
  4. อิบนุ ฮาญาร์ อัล-อัสกอลานีย์ กล่าวว่า: เปรียบเสมือนว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ผู้เดินทางไปยังจุดหมาย และช่วงเวลาทั้งสามนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้เดินทาง ท่านจึงได้ชี้แนะเขาเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เขามีกำลัง เพราะหากผู้เดินทางเดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน เขาจะเหนื่อยล้าและหยุดลง แต่หากเขาเลือกที่จะเดินทางในช่วงเวลาที่กระปรี้กระเปร่าเหล่านี้ เขาก็จะสามารถเดินทางต่อไปได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ลำบาก
  5. อิบนุ ฮาญาร์ กล่าวว่า: ฮะดีษบทนี้ชี้ให้เลือกใช้สิ่งที่เป็นข้อผ่อนปรนในทางหลักของอิสลาม เพราะการยึดเน้นในสิ่งที่เป็นที่บังคับในสถานการณ์ที่ผ่อนปรนได้นั้นเป็นการละเมิด เช่นเดียวกับคนที่ละทิ้งตะยัมมุมเมื่อเขาไม่สามารถใช้น้ำได้ และถ้าเขาอยากใช้น้ำ แล้วจะทำให้เกิดอันตรายได้
  6. อิบนุ อัล-มูนีร กล่าวว่า: ในหะดีษนี้มีหนึ่งในเครื่องหมายของการเป็นนบี เพราะเราและคนก่อนหน้าเราได้เห็นว่าทุกคนที่ทำเกินพอดีในศาสนาจะล้มเลิกไป และไม่ได้หมายถึงการห้ามการแสวงหาความสมบูรณ์ในการอิบาดะฮฺ (การเคารพสักการะ) เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ได้รับการยกย่อง แต่เป็นการห้ามการทำเกินพอดีที่นำไปสู่ความเหนื่อยล้า หรือการมุ่งเน้นในซุนนะฮฺจนละทิ้งสิ่งที่ดียิ่งกว่า เช่น คนที่ละหมาดกลางคืนทั้งคืนจนหลับไปและพลาดการละหมาดศุบฮ์ในญะมาอะฮฺ หรือพลาดจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นและเลยเวลาละหมาดฟัรฎูไป
ดูเพิ่มเติม