+ -

عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَمْرٍو رَضيَ اللهُ عنهما قَالَ:
رَجَعْنَا مَعَ رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ مَكَّةَ إِلَى الْمَدِينَةِ حَتَّى إِذَا كُنَّا بِمَاءٍ بِالطَّرِيقِ تَعَجَّلَ قَوْمٌ عِنْدَ الْعَصْرِ، فَتَوَضَّؤُوا وَهُمْ عِجَالٌ، فَانْتَهَيْنَا إِلَيْهِمْ وَأَعْقَابُهُمْ تَلُوحُ لَمْ يَمَسَّهَا الْمَاءُ فَقَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «وَيْلٌ لِلْأَعْقَابِ مِنَ النَّارِ أَسْبِغُوا الْوُضُوءَ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 241]
المزيــد ...

จากท่านอับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลออันฮุมา กล่าวว่า:
เรากลับจากมักกะฮ์ยังมะดีนะฮ์มาพร้อมกับท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ขณะที่เรากำลังเดินทางอยู่บนถนนที่มีน้ำอยู่ด้วย ก็มีบางคนรีบเร่งจะทำการละหมาดอัสริ แล้วพวกเขาก็รีบอาบน้ำละหมาด ดังนั้นเมื่อเราได้ไปถึงพวกเขา ปรากฏว่าส้นเท้าของพวกเขาโบกสะบัดโดยไม่ถูกน้ำแตะเลย ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้กล่าวว่า: "หายนะแห่งนรก จะประสบกับส้นเท้า จงอาบน้ำละหมาดให้สมบูรณ์เถิด"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 241]

คำอธิบาย​

ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินทางจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์พร้อมกับบรรดาสาวกของท่าน และระหว่างการเดินทางพวกเขาก็พบน้ำสาวกบางคนรีบไปอาบน้ำละหมาดในช่วงเวลาละหมาดอัสริ จนบางคนส้นเท้าของพวกเขา ปรากฏว่ายังแห้งอยู่เพราะไม่ได้โดนน้ำ ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า: การลงโทษและความเสียหายในนรกจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ไม่ชำระล้างส้นเท้าให้สมบูรณ์เวลาอาบน้ำละหมาด แล้วท่านก็ได้สั่งให้พวกเขาทำการอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์

การแปล: อังกฤษ อูรดู อินโดนีเซีย ตุรกี บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษามลยาฬัม ภาษาเตลูกู ภาษาสวาฮีลี ปุชตู อะซามีส ภาษาสวีเดน ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาคีร์กีซ ภาษาเนปาล ภาษาลิทัวเนีย ภาษาดารี ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโรมาเนีย ภาษามาลากาซี คำแปลภาษาโอโรโม ภาษากันนาดา
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. จำเป็นต้องล้างเท้าระหว่างการอาบน้ำละหมาด เพราะถ้าการเช็ดเท้าเป็นสิ่งที่อนุญาตได้ ก็คงไม่ถูกเตือนด้วยการลงโทษด้วยไฟสำหรับผู้ที่ไม่ล้างส้นเท้า
  2. จำเป็นต้องทำการล้างให้ทั่วทุกส่วน และผู้ใดก็ตามที่จงใจละเว้นส่วนเล็กๆ ที่ต้องชำระ การละหมาดของเขาก็จะไม่ถูกตอบรับ
  3. ความสำคัญของการสอนและการชี้นำผู้คนให้รู้เรื่องนั้นๆ
  4. ผู้รู้ควรปฏิเสธสิ่งที่เห็นว่าเป็นการละเลยภาระหน้าที่ที่เป็นวาญิบและซุนนะฮ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
  5. มูฮัมมัด อิซหาก อัล-ดะฮ์ละวีย์ กล่าวว่า การชำระให้ทั่วถึงมีสามประเภท ได้แก่ ฟัรฎ คือ การล้างให้ครอบคลุมบริเวณหนึ่งครั้ง, ซุนนะฮ์ คือ การล้างสามครั้ง, และมุสตะฮับ คือ การทำให้ยาวนานขึ้นพร้อมกับการล้างสามครั้ง