+ -

عَن أَبي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه قَالَ: سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ:
«الْحَلِفُ مَنْفَقَةٌ لِلسِّلْعَةِ، مَمْحَقَةٌ لِلرِّبْحِ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1606]
المزيــد ...

จากอบูฮุร็อยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านเราะซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:
"การสาบานช่วยทำให้สินค้าขายออก แต่จะทำลายผลกำไร"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1606]

คำอธิบาย​

"ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้เตือนให้ระวังการสาบานและการสาบานบ่อยครั้ง แม้จะเป็นการสาบานที่พูดความจริงในเรื่องการซื้อขาย ท่านได้แจ้งว่าแม้มันจะช่วยทำให้สินค้าหรือสิ่งของขายได้ง่ายขึ้น แต่มันจะเป็นเหตุให้บารอกัต (ความจำเริญ) ของผลกำไรและรายได้หายไป อัลลอฮ์ (ซุบฮานะฮุวะตะอาลา) อาจลงโทษเจ้าของทรัพย์สินโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ถูกขโมย ไฟไหม้ น้ำท่วม การถูกแย่งชิง หรือภัยอื่น ๆ ที่ทำให้ทรัพย์สินของเขาสูญเสียไป"

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาโรมาเนีย
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. ให้ความสำคัญกับเรื่องการสาบานต่ออัลลอฮ์ และไม่ควรกระทำเว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
  2. รายได้ที่ไม่สุจริต แม้จะมีจำนวนมากเพียงใด ก็จะไม่มีความจำเริญและไม่มีความดีงามอยู่ในนั้นเลย
  3. อัลกอรีกล่าวว่า: ความไม่มีความจำเริญในรายได้หรือทรัพย์สินที่ได้มานั้นเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น:
  4. 1. การสูญเสียทรัพย์สิน
  5. ทรัพย์สินนั้นอาจถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายโดยตรง
  6. 2.การใช้จ่ายไปในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเขา
  7. ทรัพย์สินอาจถูกใช้ในสิ่งที่ไม่ให้คุณประโยชน์ใด ๆ ทั้งในชีวิตนี้ (โลกนี้) หรือไม่มีรางวัลตอบแทนในปรโลก (โลกหน้า)
  8. 3.การครอบครองทรัพย์สิน แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากมันเลย
  9. แม้ทรัพย์สินจะยังคงอยู่กับเจ้าของ แต่เขากลับไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ เลยจากมัน หรือเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ที่ไม่ขอบคุณเขา
  10. อัล-นะวะวีย์ กล่าวว่า: ในหะดีษนี้มีข้อห้ามเกี่ยวกับการสาบานอย่างบ่อยครั้งในขณะทำการซื้อขาย เนื่องจากการสาบานโดยไม่มีความจำเป็นถือว่าไม่เหมาะสม (มักรูฮ์) และยังเกี่ยวพันกับการส่งเสริมสินค้า (ด้วยการสาบาน) ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดหรือหลงเชื่อคำสาบานนั้นได้
  11. การสาบานบ่อยครั้งจนเกินไปบ่งบอกถึงความบกพร่องในศรัทธา (อีหม่าน) และความบกพร่องในเรื่องเตาฮีด เนื่องจากการสาบานที่บ่อยเกินไปอาจนำไปสู่สองสิ่งดังนี้:
  12. ประการแรก : การละเลยและไม่ใส่ใจ: ทำให้การสาบานกลายเป็นเรื่องธรรมดาและไม่คำนึงถึงความสำคัญของมัน
  13. ประการที่สอง : การโกหก : เพราะคนที่สาบานบ่อยครั้ง มักจะตกอยู่ในความเท็จ ดังนั้นจึงควรลดการสาบานและหลีกเลี่ยงการกล่าวคำสาบานอย่างบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จึงตรัสว่า: "และพึงรักษาคำสาบานของพวกเจ้าไว้"
  14. (อัลมาอิดะห์: 89)
ดูเพิ่มเติม