+ -

عَنْ مَالِكِ بْنِ أَوْسِ بْنِ الْحَدَثَانِ أَنَّهُ قَالَ: أَقْبَلْتُ أَقُولُ مَنْ يَصْطَرِفُ الدَّرَاهِمَ؟ فَقَالَ طَلْحَةُ بْنُ عُبَيْدِ اللهِ وَهُوَ عِنْدَ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رضي الله عنهما: أَرِنَا ذَهَبَكَ، ثُمَّ ائْتِنَا، إِذَا جَاءَ خَادِمُنَا، نُعْطِكَ وَرِقَكَ، فَقَالَ عُمَرُ بْنُ الْخَطَّابِ: كَلَّا، وَاللهِ لَتُعْطِيَنَّهُ وَرِقَهُ، أَوْ لَتَرُدَّنَّ إِلَيْهِ ذَهَبَهُ، فَإِنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ:
«الْوَرِقُ بِالذَّهَبِ رِبًا، إِلَّا هَاءَ وَهَاءَ، وَالْبُرُّ بِالْبُرِّ رِبًا، إِلَّا هَاءَ وَهَاءَ، وَالشَّعِيرُ بِالشَّعِيرِ رِبًا، إِلَّا هَاءَ وَهَاءَ، وَالتَّمْرُ بِالتَّمْرِ رِبًا، إِلَّا هَاءَ وَهَاءَ».

[صحيح] - [متفق عليه] - [صحيح مسلم: 1586]
المزيــد ...

จากมาลิก บิน เอาซ์ บิน อัล-ฮะดะษาน เขากล่าวว่า ฉันพูดว่า “ใครเป็นคนแลกเปลี่ยนดิรฮัม?” ฏ็อลหะฮ์ บิน อุบัยดุลลอฮ์ ขณะที่เขาอยู่กับอุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า: จงแสดงทองคำของคุณให้เราดู แล้วมาหาเรา เมื่อผู้รับใช้ของเรามาถึง เราจะมอบดิรฮัมที่ทำมาจากเงินของเจ้าให้กับเจ้า ดังนั้นอุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ จึงกล่าวว่า: ไม่ ขอสาบานต่อพระเจ้า เจ้าจะมอบดิรฮัมที่ทำมาจากเงินของเขาให้เขา หรือเจ้าจะคืนทองคำของเขาให้เขา แน่แท้แล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า:
“ทองคำแลกทองคำเป็นดอกเบี้ย นอกจากต่างฝ่ายต่างรับกันไปในเวลานั้นเลย ข้าวสาลีแลกข้าวสาลีเป็นดอกเบี้ย นอกจากต่างฝ่ายต่างรับกันไปในเวลานั้นเลย ข้าวบาร์เลย์แลกข้าวบาร์เลย์เป็นดอกเบี้ย นอกจากต่างฝ่ายต่างรับกันไปในเวลานั้นเลย อินทผลัมแห้งแลกอินทผลัมแห้งเป็นดอกเบี้ย นอกจากต่างฝ่ายต่างรับกันไปในเวลานั้นเลย"

[เศาะฮีห์] - [รายงานโดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม] - [เศาะฮีห์มุสลิม - 1586]

คำอธิบาย​

มาลิก บิน เอาส์ ท่านคนยุคตาบิอีน กล่าวว่า เขามีดีนาร์ทองคำ และเขาต้องการแลกเป็นดิรฮัมเงิน ดังนั้นฏอลหะฮ์ บิน อุบัยดุลลอฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวแก่เขาว่า: โปรดมอบดินาร์ของคุณให้เรา เพื่อให้ฉันได้เห็นมัน ! จากนั้นเขาก็พูดกับเขาหลังจากที่เขาตัดสินใจซื้อ: เอามาให้เราสิ เมื่อคนรับใช้ของเรามาหลังจากนี้ เราจะได้มอบดิรฮัมเงินให้กับเจ้า อุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็อยู่ในเหตุการณ์นั้น ดังนั้นท่านจึงปฏิเสธการทำธุรกรรมประเภทนี้ เขาสาบานกับฏอลหะฮ์ว่า ท่านจะต้องให้ดิรฮัมเงินตอนนี้ หรือคืนทองคำของเขาที่เอามาจากเขากลับไปให้เขา และท่านอธิบายเหตุผลนั้นว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บอกว่าการขายเงินกับทองคำหรือกลับกันนั้น จะต้องทำให้เสร็จในตอนนั้นเลย มิฉะนั้น การซื้อขายนั้นเป็นเป็นดอกเบี้ยที่ต้องห้าม การค้าขายนั้นโมฆะ และไม่อนุญาตให้ขายทองด้วยเงิน หรือเงินด้วยทอง ยกเว้นมีการยื่นกันต่อหน้า และได้รับมอบกันทั้งคู่ และไม่อนุญาตให้ขาย ข้าวสาลีกับข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์กับข้าวบาร์เลย์ และอินทผลัมกับอินทผาลัม เว้นแต่ ต้องชนิดเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน ปริมาณตวงเท่ากัน ทำต่อหน้า ห้ามขายล่วงหน้า และไม่อนุญาตให้แยกย้ายกันก่อนที่จะมีการรับมอบ

การแปล: อังกฤษ อูรดู เนื้อหาภาษาสเปน อินโดนีเซีย ภาษาอุยกูร์ เบ็งกอล ฝรั่งเศส ตุรกี รัสเซีย บอสเนีย ภาษาสิงหล ภาษาฮินดี จีน เปอร์เซีย​ ภาษาเวียดนาม ตากาล็อก ภาษาเคิร์ด ภาษาเฮาซา ภาษาโปรตุเกส ภาษามลยาฬัม ภาษาสวาฮีลี เยอรมัน ปุชตู อะซามีส ภาษาอามารา แปลภาษาดัตช์ ภาษาคุชราต ภาษาเนปาล ภาษาโรมาเนีย คำแปลภาษาโอโรโม
ดูการแปล

บทเรียนที่ได้รับจากฮะดีษ

  1. มีสินค้าอยู่ 5 ห้าประเภทที่กล่าวถึงในหะดีษบทนี้ คือ: ทองคำ เงิน ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และอินทผลัม หากการค้าขายเกิดขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน จะต้องตรงตามเงื่อนไขสองประการเพื่อให้มีการค้าขายนั้นใช้ได้ คือ: การแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นในเวลานั้นเลย และความเหมือนกันในน้ำหนัก เช่นทองคำต่อทองคำ มิฉะนั้นจะเป็นดอกเบี้ย (ริบาอ์ อัลฟะฎัล) และหากแตกต่างกันเช่นเงินและข้าวสาลีเป็นต้น เงื่อนไขหนึ่งเพื่อให้ถูกต้องของสัญญาคือ การรับมอบราคาในช่วงสัญญา(เวลาในขณะนั้น) มิฉะนั้น จะเป็นดอกเบี้ย (ริบาอ์ อัลนะซีอะฮ์)
  2. คำว่า ในช่วงสัญญา หมายถึง สถานที่แลกเปลี่ยนกันในเวลานั้น ไม่ว่าจะนั่ง เดิน หรือบนยานพาหนะ และคำว่า การแยกย้ายกัน หมายถึง การแยกย้ายตามที่เข้าใจกัน
  3. การห้ามในฮะดีษนี้รวมถึงทองคำทุกชนิดที่ถูกตีและไม่ถูกตี รวมถึงเงินทุกชนิดที่ตีและไม่ตีด้วย
  4. สกุลเงินในยุคนี้บังคับในลักษณะเดียวกับการขายทองคำเป็นเงิน กล่าวคือ หากคุณต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินหนึ่งเป็นสกุลเงินอื่น เช่น ริยาลเป็นดิรหัม ก็อนุญาตให้แลกเปลี่ยนได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน แต่การแลกเปลี่ยนจะต้องทำกันในช่วงการค้าขาย ณ ขณะนั้น มิฉะนั้นข้อตกลงจะถือเป็นโมฆะ และการซื้อขายนั้น จะเป็นดอกเบี้ย ที่เป็นสิ่งต้องห้าม
  5. การทำธุรกรรมที่มีดอกเบี้ยไม่เป็นที่อนุญาต และสัญญาของมันถือเป็นโมฆะ แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะยินยอมตกลงกันก็ตาม เพราะอิสลามรักษาสิทธิมนุษยชนและสังคม แม้ว่าจะสละสิทธิ์ก็ตาม
  6. การห้ามปรามความชั่วและการป้องกันมันนั้น สำหรับผู้ที่สามารถทำได้
  7. การกล่าวถึงหลักฐานเมื่อประณามความชั่วร้าย เช่นเดียวกับกรณีของอุมัร บิน อัลค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ในกรณีดังกล่าว